PhD in Applied Linguistics : Curriculum

Course Description

      1. Compulsory courses

      2. Elective courses

      3. Thesis

A typical PhD lesson

1. Compulsory courses

LNG 701     วิธีวิจัยระดับสูง                                                                                             3(3-0-9)

              (Advanced Research Methodology)

Pre-requisite : None 

ธรรมชาติของการทำวิจัยและวิธีการทำวิจัย ความหมายของการวิจัย  ความสัมพันธ์ระหว่างการทำวิจัยและองค์ความรู้ ประเภทการทำวิจัยและการประยุกต์ใช้ ตัวแปรความถูกต้องและความน่าเชื่อถือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพ อาทิ การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การเขียนบันทึก การสังเกตการณ์  การใช้สถิติ  จริยธรรมวิจัย การทำหัวข้อให้แคบลง การวิเคราะห์วิจารณ์งานวิจัยอื่นๆ การออกแบบเครื่องมือการเก็บข้อมูลการเตรียมและวิเคราะห์ข้อมูล

The nature of research. Definitions of research. The relationship between research and knowledge. Characteristics of research. Research paradigms and their applications. Variables, validity and reliability. Research instruments. Statistical analyses of data. Ethical issues in research. Narrowing down a topic. Criticizing previous research. Designing procedures and instruments for data collection. Preparing and analysing data.

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา

1)  นักศึกษาสามารถอธิบายธรรมชาติและขอบเขตการวิจัยทางด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ประเภทต่างๆ ได้

2)  นักศึกษาสามารถคิด ออกแบบงานวิจัยและวางแผนการวิจัยทางด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

3)  นักศึกษาสามารถออกแบบงานวิจัยทางด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ที่ดีและสอดคล้องกับจริยธรรมการวิจัย

4)  นักศึกษาสามารถวิพากษ์งานวิจัยทางด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ได้

5)  นักศึกษาสามารถวิเคราะห์งานวิจัยทางด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ได้

 

LNG 702  ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์                                                                               3(3-0-9)

            (Linguistic Theories)

            Pre-requisite : None

การหาลักษณะเฉพาะและการใช้งานพื้นฐานของภาษา ปรัชญาแนวทางการศึกษาภาษา(ไวยากรณ์บัญญัติ ไวยากรณ์เชิงวรรณา การเน้นโครงสร้าง การมองเชิงสังคม การใช้กฎ การมองตามแบบแผน เป็นต้น) การให้พื้นฐานการวิเคราะห์คำ ไวยากรณ์ วากยสัมพันธ์ วัจนปฏิบัติศาสตร์ สัทศาสตร์ สัทวิทยา สัมพันธสาร ภาษาศาสตร์ระบบหน้าที่ ปรลักษณ์ภาษาศาสตร์และสัญญานศาสตร์วิทยาการเลือกใช้ภาษาและปัจจัยด้านความรู้สึกในการใช้ภาษา

Defining characteristics and basic uses of language. Philosophical approaches to studying language (prescriptive v. descriptive, structuralist v. social, rule-based v. pattern-based, etc). Introductions to analysing lexis, grammar, syntax, semantics, pragmatics, phonetics, phonology, discourse. Systemic functional linguistics. Paralinguistics and semiotics. Choice and affect in language use.

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา

1)  นักศึกษาสามารถอธิบายแนวคิด ทฤษฎี และปรัชญาทางการศึกษาภาษาได้

2)  นักศึกษามีความรู้และเข้าใจประเด็นทางภาษาศาสตร์และแง่มุมทางภาษาศาสตร์

3)  นักศึกษาสามารถใช้ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์วิเคราะห์ภาษาได้

4)  นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับภาษาศาสตร์หรือประเด็นทางภาษาในงานภาษาศาสตร์สังคมหรือการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับภาษาได้

 

LNG 703   ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษา                                                                                3(3-0-9)

             (Theories in Language Learning)

      Pre-requisite : None

การประยุกต์ทฤษฎีทางการศึกษาโดยทั่วไป เช่น การเรียนโดยเน้นเรื่องพฤติกรรม การเรียนโดยเน้นปริชาน การเรียนด้วยการค้นพบ การเรียนแบบการสร้างความรู้โดยผ่านทางสังคมและการเรียนด้วยการเชื่อมโยงความคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนภาษาและการรับรู้ทางภาษา ความแตกต่างของผู้เรียนและปัจจัยทางด้านจิตใจ ความจำ ลักษณะการเรียน แรงจูงใจผู้อิสระในการเรียน ปัจจัยที่ส่งผลต่อในการเรียนรู้

The application of general educational theories of learning to language learning, behaviourism, cognitivism, discovery learning, social constructivism, humanism, connectionism, theories specific to language learning and language acquisition. Individual learner differences. Memory. Learning styles. Motivation. Learner autonomy. Affective factors in learning.

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา

1)  นักศึกษาสามารถอธิบายแนวคิด ทฤษฎี และปรัชญาการเรียนรู้ได้

2)  นักศึกษามีความรู้และเข้าใจประเด็นและแง่มุมด้านการเรียนรู้ภาษา

3)  นักศึกษาสามารถใช้ทฤษฎีทางการเรียนรู้ในการวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ภาษาได้

4)  นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีด้านการเรียนรู้ภาษา ในการวางแผนการเรียนรู้ภาษาหรือการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาได้

5)  นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และวิพากษ์งานวิจัยด้านการเรียนรู้ภาษาได้

 


Why do a PhD in Applied Linguistics at KMUTT?

Rationale

Overview

Teaching  Staff

Admission

Programme Structure

Curriculum

Program Learning Outcomes

Facilities

Graduation Requirements

Financial Information

Current PhD Students

Graduated Students

Students’ Publications

Forms

Thesis Templates  

Contact Information