พัฒนาการและความเป็นมาของสายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
สายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในช่วงสมัยวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี (พ.ศ.2503-2514 ) คือแผนกวิชาภาษาและสังคม สังกัดคณะวิชาสามัญ มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการจัดการเรียนการสอนทางสังคมศาสตร์ อาทิเศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา ฯลฯ ให้กับนักศึกษาที่เรียนสายช่างต่อมา มีการประกาศจัดตั้งเป็นสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2514 แผนกวิชาภาษาและสังคมได้เปลี่ยนมาเป็นภาควิชาภาษาและสังคม สังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ ระหว่าง พ.ศ.2514 -2543 ทำหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (รหัส LS) ให้กับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีของทุกคณะ
เมื่อ พ.ศ. 2543 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาภาษาและสังคมได้แยกเป็นสายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และสายวิชาภาษา สังกัดคณะศิลปศาสตร์ ในปัจจุบันสายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ให้ความร่วมมือกับสำนักศึกษาทั่วไปในการสอนวิชาศึกษาทั่วไป(GEN)และเปิดสอนกลุ่มวิชาเลือกเสรี(SSC) ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกคณะ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างบัณฑิตให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
นอกจากนี้ สายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ได้ทำการเปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม มีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาทรัพยากรบุคคลภายในประเทศให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและมีความเชี่ยวชาญทางด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษาผลกระทบทางสังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการพัฒนา สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริงในการแก้ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสามารถวิเคราะห์โครงการหรือกิจกรรมต่างๆ และมีทักษะในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและการจัดการความขัดแย้งกับชุมชนท้องถิ่นอันจะก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
ความรับผิดชอบของสายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
- ร่วมกับสำนักงานวิชาศึกษาทั่วไปในการสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี
- กลุ่มเลือกเสรีรายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ระดับปริญญาตรี
- หลักสูตรศิลปศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม
หน่วยงาน
- Community Data Management Unit – CDMU
- Website : http://arts.kmutt.ac.th/cdmu/page1.html
- Facebook : Community Data Management Unit – CDMU