ปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษศึกษาเชิงประยุกต์)
สอนโดย
คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษาเชิงประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญต่อการผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร มีความเป็นมืออาชีพ และมีความเข้มแข็งด้านวิชาการในศาสตร์ด้านภาษาอังกฤษศึกษาและภาษาศาสตร์ประยุกต์ สามารถนำศาสตร์และศิลป์ในด้านที่เกี่ยวข้องคือ ภาษาอังกฤษ การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ การใช้ภาษาอังกฤษ การสื่อสาร ภาษาศาสตร์เชิงสังคม พหุวัฒนธรรม รวมถึงเทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ มาบูรณาการและใช้ในการปฏิบัติงานและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริงอย่างมืออาชีพ ปรัชญาของหลักสูตรจึงเน้นการนำความรู้ในศาสตร์ด้านภาษาอังกฤษศึกษาเชิงประยุกต์มาประยุกต์ใช้ในเชิงวิชาการและวิชาชีพ เรียนรู้โดยเชื่อมโยงทฤษฎี การปฏิบัติและการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ผ่านกระบวนการและวงจรการเรียนรู้แบบต่อเนื่องโดยกำหนดเป้าหมาย วางแผน ดำเนินการ สะท้อนคิดและถอดบทเรียนจากประสบการณ์เพื่อประเมินผลและพัฒนา รวมถึงการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และเครือข่ายสังคมนักปฏิบัติเพื่อส่งเสริมวิชาการด้านภาษาอังกฤษศึกษาและภาษาศาสตร์ประยุกต์
ความสำคัญ
หลักสูตรมีความสำคัญด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศให้มีความเชี่ยวชาญและเป็นมืออาชีพในด้านการใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลในการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านภาษาอังกฤษให้กับประเทศ หลักสูตรมุ่งสร้างมหาบัณฑิตที่มีสมรรถนะด้านภาษาและการสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงวิชาชีพในระดับสูง มีความสามารถด้านวิชาการและการวิจัยในสาขาภาษาอังกฤษศึกษาเชิงประยุกต์ สามารถใช้ทฤษฎีทางภาษาและการสื่อสารในการวิจัย มีความเป็นสากล สามารถปฏิบัติงานด้านการสื่อสารเชิงวิชาชีพและสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม มีความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติงาน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีทักษะและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษขั้นสูง สามารถใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว เหมาะสมต่อบริบทของการสื่อสาร สามารถวิเคราะห์และพัฒนาความสามารถทางภาษาของตนได้
- เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเป็นมืออาชีพในการทำงาน สามารถนำทฤษฎีด้านภาษาและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ
- เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการทำวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานวิชาการด้านภาษาอังกฤษศึกษาเชิงประยุกต์
- เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะความเป็นผู้นำ มีศีลธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ มีทักษะในการจัดการความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัตน์
2.2 คุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตของหลักสูตร
บัณฑิตจากหลักสูตรนี้มีคุณลักษณะพิเศษดังนี้
- มีความสามารถทางภาษาอังกฤษและการสื่อสารในระดับสูง
- มีความเป็นมืออาชีพในการทำงาน มีความรับผิดชอบ มีทัศนคติที่ดี ทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี
- มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
- มีความใฝ่รู้ สามารถคิดวิเคราะห์วิพากษ์และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
- มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์ต่อตนเองและต่อวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อ-นามสกุล | สาขาวิชา | Research area |
ผศ. ดร. เสาวลักษณ์ เทพสุริวงศ์ | Applied Linguistics (2000, University of Reading, U.K.) | Reading strategies, ELT |
ผศ. ดร.ณัตจิรี จาตุรพิทักษ์กุล | English as an International Language (2008, Chulalongkorn University, Thailand) | Language assessment, standardized test development, ESP testing, language learning and teaching |
ดร.รัชนี เดอร์ซิงค์ | Linguistics (2018, Chulalongkorn University, Thailand) | Communication strategies Second language acquisition |
รศ. ดร.อธิปัตย์ บุญเหมาะ | Applied Linguistics (2009, University of Warwick, U.K.) | Dictionary use, lexicography, autonomy, new technologies and language learning |
รศ. ดร.พรนภิส ดาราสว่าง | TESOL (2000, University of Edinburgh, U.K.) | Learner autonomy, self-access learning |
Assoc. Prof. Dr. Richard Watson Todd | English Language Studies (2003, University of Liverpool, U.K.) | Discourse analysis, educational innovation |
ดร.พนิตพิมพ์ โศจิศิริกุล | English Language Studies (2009, Suranaree University of Technology, Thailand) | Approaches and methodologies, Course and curriculum development, Information and communication technology (ICT) in language teaching, English language testing |
รศ. ดร.วรรณภา ตระกูลเกษมสุข | English as an International Language (2008, Chulalongkorn University, Thailand) | World Englishes, English as a Lingua Franca, language and communication |
ดร.อรกัญญาณี เลี้ยงอิสสระ | Cultural Perspectives and Comparative Education (2013, University of California, Santa Barbara, U.S.A) | pragmatics intercultural communication internationalization English in workplace communication |
ดร.ปุณยภา แสงศรี | English as an International Language (2008, Chulalongkorn University, Thailand) | Assessment and Evaluation Information in ELT and communication technology (ICT) in language teaching, |
ผศ. ดร.สมพธู หวังทอง | 2017 Ph.D. (Early Childhood), Macquarie University, Australia. | ELT, Critical Discourse Analysis, Semiotics, Postmodern Literature |
Dr. Ali Zahabi | 2016 Ph.D. (Applied Linguistics – TESOL), University Sains Malaysia, Malaysia. | Task-based language teaching, Language Assessment, Semiotics |
อาจารย์ประจำ
ชื่อ-นามสกุล | สาขาวิชา | Research area |
ผศ. ธนิศร์ ตั้งกิจเจริญกุล | English (2010, Chulalongkorn University, Thailand) | Language and Identity, English in East Asia, Post-colonial Literature |
Dr. Hayo Reinders | Applied Language Studies & Linguistics (2005, University of Auckland, New Zealand) | The role of technology in learning and teaching, learner autonomy, self-access, task-based language teaching, language processing (attention and noticing), mobile learning |
อาจารย์พิเศษ
Name | สาขาวิชา | Research area |
Dr. Stephen Louw | Applied Linguistics (2014, King Mongkut’s University of Technology Thonburi, Thailand) | Language Teacher Education |
ผศ.ดร. กิตตินาถ เรขาลิลิต | Linguistics (2014, Chulalongkorn University, Thailand) | Syntax, Sociolinguistics, Language Change & Variation, and Linguistic Landscape |
ดร.ภาสกร เชื้อสวย | Translation and Intercultual Studies (2010, University of Manchester, U.K.) | Translation Studies, Systemic Functional Linguistics, Social Semiotics, Multimodality |
รศ.ดร. อภิศักดิ์ ภู่พิพัฒน์ | Applied Linguistics (1998, Columbia University, U.S.A.) | Using various media in English language teaching, Scientific English |
Dr.Jonathan Rante Carreon | Applied Linguistics (2013, King Mongkut’s University of Technology Thonburi, Thailand) Linguistics (2013, Macquarie University, Australia) | Applied Linguistics |
ศศ.ม. สาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษาเชิงประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ)
- ผศ. ดร. เสาวลักษณ์ เทพสุริวงศ์ (ประธานหลักสูตร)
- ผศ. ดร.ณัตจิรี จาตุรพิทักษ์กุล (คณะกรรมการ)
- ดร.รัชนี เดอร์ซิงค์ (คณะกรรมการ)
แผนการเรียน
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2558 และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2562 (ภาคผนวก จ.)
การลงทะเบียนเรียน
- นักศึกษาจะลงทะเบียนรายวิชาได้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา
- นักศึกษาระดับปริญญาเอกสามารถลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ได้เมื่อสอบผ่านการวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination, QE) แล้ว
การสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
การสอบวัดคุณสมบัติ เป็นการวัดความรู้ ความสามารถของนักศึกษาระดับปริญญาเอกที่จะต้องทำการสอบให้ผ่านตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนดไว้ เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย ทั้งนี้
- ผู้เข้าศึกษาระดับปริญญาเอกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติภายใน 4 ภาคการศึกษาปกตินับตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษา
- ผู้เข้าศึกษาระดับปริญญาเอกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติภายใน 3 ภาคการศึกษาปกตินับตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษา
หมายเหตุ หากสอบไม่ผ่านหรือไม่ได้ดำเนินการภายในกำหนดให้พ้นสภาพการเป็นนักศึกษา
การทำวิทยานิพนธ์
- นักศึกษาจะลงทะเบียนเพื่อทำวิทยานิพนธ์ได้ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา ทั้งนี้
- นักศึกษาระดับปริญญาโท แผน ก 2 จะลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ได้เมื่อเป็นนักศึกษาสามัญแล้วอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา ได้ลงทะเบียนรายวิชาและสอบผ่านแล้วไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต และมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00 ยกเว้นผู้ที่พ้นสภาพและสมัครกลับมาศึกษาใหม่ตามข้อ 28.2.4 สามารถลงทะเบียนวิทยานิผพนธ์ได้ในภาคการศึกษาที่กลับเข้าศึกษาใหม่
- นักศึกษาระดับปริญญาเอกต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติก่อนลงทะเบียนเพื่อทำวิทยานิพนธ์ โดยนักศึกษาระดับปริญญาเอกแผนการศึกษา แบบ 2 จะลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ได้เมื่อเป็นนักศึกษาสามัญแล้วอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา ได้ลงทะเบียนรายวิชาและสอบผ่านแล้วไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต และมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.25 ยกเว้นผู้ที่พ้นสภาพและสมัครกลับมาศึกษาใหม่ตามข้อ 28.2.4 สามารถลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ได้ในภาคการศึกษาที่กลับเข้าศึกษาใหม่
- นักศึกษาสามารถแบ่งจำนวนหน่วยกิตในการลงทะเบียนทำวิทยานิพนธ์ได้ตามความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์แต่ต้องไม่ขัดกับข้อ 17.1.3
- การเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์
- เมื่อนักศึกษาลงทะเบียนทำวิทยานิพนธ์แล้วนักศึกษาต้องจัดทำโครงร่างวิทยานิพนธ์เสนออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เพื่อตรวจแก้ไขแล้วนำเสนออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเพื่อขอความเห็นชอบ
- อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์พร้อมรายชื่อ คณะกรรมการวิทยานิพนธ์ไปยังคณะกรรมการประจำคณะเพื่ออนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการวิทยานิพนธ์
- การสอบโครงร่างและการประเมินผลการทำวิทยานิพนธ์
- นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ และจัดทำรายงานความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ เสนอคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ทุกภาคการศึกษา
- คณะกรรมการวิทยานิพนธ์จะประเมินผลการทำวิทยานิพนธ์ตามจำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ที่นักศึกษา ลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษา โดยจะให้ผลการศึกษา S เฉพาะหน่วยกิตที่การวิจัยมีความก้าวหน้าเป็นที่พอใจ และให้ผลการศึกษา U ในกรณีที่นักศึกษาไม่ได้ทำการค้นคว้าวิจัยตามแผนงาน นักศึกษาที่ทำการสอบและส่งวิทยานิพนธ์เรียบร้อยแล้วจึงจะได้ผลการศึกษา S ครบตามจำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์
- นักศึกษาซึ่งลงทะเบียนวิทยานิพนธ์แล้ว แต่ขาดการติดตามในการทำวิทยานิพนธ์โดยสม่ำเสมอ 2 ภาคการศึกษาปกติต่อเนื่องกัน ทำให้มีผลการศึกษา U คณะกรรมการวิทยานิพนธ์อาจเสนอให้นักศึกษาพ้นจากการทำวิทยานิพนธ์ในเรื่องนั้นได้ โดยได้รับความเห็นชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและการอนุมัติของคณะกรรมการประจำคณะ
- การขอเปลี่ยนแปลงหัวข้อและจำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์
- ในกรณีที่คณะกรรมการวิทยานิพนธ์เห็นสมควรให้นักศึกษาเปลี่ยนแปลงหัวข้อหรือจำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ที่ได้รับอนุมัติแล้ว เนื่องจากมีอุปสรรคทางวิชาการหรือเหตุสุดวิสัยให้นักศึกษายื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงหัวข้อวิทยานิพนธ์พร้อมแนบโครงร่างวิทยานิพนธ์ใหม่ตาม เพื่อให้คณบดีอนุมัติ โดยผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการวิทยานิพนธ์และการให้ความเห็นชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
- ในกรณีที่มีการขอปรับชื่อวิทยานิพนธ์เล็กน้อยเพื่อความเหมาะสมตามงานวิจัยของนักศึกษาในขั้นตอนสุดท้าย โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของงานวิจัยอย่างมีนัยสำคัญ ตามความเห็นของคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ ให้นักศึกษายื่นคำร้องผ่านอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้คณบดีอนุมัติโดยไม่ต้องแนบโครงร่างวิทยานิพนธ์ใหม่
- นักศึกษาที่เปลี่ยนหัวข้อวิทยานิพนธ์ใหม่จะต้องทำการลงทะเบียนและชำระหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ใหม่ ยกเว้นกรณีที่มีการปรับหัวข้อวิทยานิพนธ์ตามข้อ 31.4.2
การสอบวิทยานิพนธ์
- นักศึกษามีสิทธิ์ขอสอบวิทยานิพนธ์ได้ เมื่อคณะกรรมการวิทยานิพนธ์เห็นชอบให้นักศึกษาสอบวิทยานิพนธ์ โดยเสนอรายชื่อคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ พร้อมกำหนดวันสอบไปยังอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเพื่อให้ความเห็นชอบ และคณะกรรมการประจำคณะ เพื่อพิจารณาอนุมัติและแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
- นักศึกษาจะต้องส่งร่างวิทยานิพนธ์ให้คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์พิจารณาล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนวันสอบวิทยานิพนธ์ มิฉะนั้น คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์อาจจะเลื่อนวันสอบออกไปโดยให้นับตั้งแต่วันที่ได้รับร่างวิทยานิพนธ์ไม่ต่ำกว่าสองสัปดาห์แต่ไม่เกินหนึ่งเดือน
- คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบ กรณีที่ผลสอบเป็นที่พอใจให้ผลการศึกษาผ่าน (S) และกรณีที่ผลสอบไม่เป็นที่พอใจ ให้ทำการสอบแก้ตัวภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์กำหนด
- นักศึกษาที่สอบผ่านวิทยานิพนธ์แล้ว ให้ดำเนินการแก้ไขตามคำแนะนำของกรรมการสอบวิทยานิพนธ์และจัดส่งไปยังคณะภายใน 30 วันนับถัดจากวันสอบวิทยานิพนธ์ ในกรณีที่มีการแก้ไขวิทยานิพนธ์ซึ่งไม่เกี่ยวกับเนื้อหาหลักแต่ต้องใช้เวลามาก คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์อาจกำหนดให้ส่งวิทยานิพนธ์เกิน 30 วันได้ แต่ต้องไม่เกิน 60 วัน มิฉะนั้น ผลสอบวิทยานิพนธ์จะปรับเป็น U จากนั้นให้คณะตรวจสอบรูปแบบวิทยานิพนธ์ซึ่งมีรูปแบบตามคู่มือการเขียนและพิมพ์วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยภายใน 30 วัน พร้อมวิทยานิพนธ์ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศของมหาวิทยาลัย
- นักศึกษาระดับปริญญาโท ควรใช้ภาษาอังกฤษในการเขียนวิทยานิพนธ์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการเขียนวิทยานิพนธ์
- การสอบวิทยานิพนธ์ ให้เป็นการสอบอย่างเปิดเผย ซึ่งผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าร่วมรับฟังได้ ยกเว้นหัวข้อวิจัยที่ทำร่วมกับองค์กรที่ประสงค์จะปกปิดให้ขออนุญาตคณบดีหรือผู้อำนวยการเป็นกรณีไป
- ลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์เป็นของมหาวิทยาลัย ยกเว้นมีข้อตกลงอื่นกับเจ้าของทุนวิจัย
การทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ
ให้คณะกรรมการประจำคณะกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการทำการศึกษาค้นคว้าอิสระของนักศึกษาระดับปริญญาโท แผน ข ที่ไม่ขัดกับระเบียบนี้ ทั้งนี้
- คณะกรรมการสอบประมวลความรู้
- คณะกรรมการสอบการศึกษาค้นคว้าอิสระตาม
- การสอบการศึกษาค้นคว้าอิสระ ให้เป็นการสอบอย่างเปิดเผย ซึ่งผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าร่วมรับฟังได้ ยกเว้น หัวข้อวิจัยที่ทำร่วมกับองค์กรที่ประสงค์จะปกปิดการศึกษาค้นคว้าอิสระ ให้ขออนุญาตคณบดีหรือผู้อำนวยการเป็นกรณีไป
นักศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตร หรือปริญญาจากมหาวิทยาลัยเมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังนี้
- นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตต้องศึกษาได้ครบหน่วยกิตและรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรและมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
- นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงต้องศึกษาได้ครบหน่วยกิตและรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรและมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25
นักศึกษาระดับปริญญาโท
นักศึกษาแผน ก แบบ ก 1
(ก) ต้องเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย และ
(ข) มีบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ที่มาจากผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ อย่างน้อย 1 ชิ้น หรือผลงานอื่น ๆ ที่เทียบเท่า โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ
แผน ก แบบ ก 2
(ก) ต้องศึกษาได้ครบหน่วยกิตและสอบผ่านรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรและจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และ
(ข) เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย และผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติหรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอต้องมีการตีพิมพ์บทความฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceeding) ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงาน
นักศึกษาแผน ข
- (ก) ต้องศึกษาได้ครบหน่วยกิตและสอบผ่านรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 และ(ข) เสนอการศึกษาค้นคว้าอิสระ และสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) โดยการสอบแบบปากเปล่าหรือสอบข้อเขียน และ (ค) เสนอการศึกษาค้นคว้าอิสระ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย
- ต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของแต่ละหลักสูตร หรือหากหลักสูตรไม่ระบุให้ใช้เกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
- นักศึกษาต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่แต่ละหลักสูตรกำหนด โดยความเห็นชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และคณะกรรมการประจำคณะอย่างครบถ้วน
- ในการพิจารณาให้นักศึกษาได้รับปริญญา นอกจากคณะกรรมการประจำคณะจะพิจารณาจากผลการศึกษาของนักศึกษาแล้วให้นำพฤติการณ์ของนักศึกษาในด้านความประพฤติ คุณธรรม และจริยธรรม อันเป็นเกียรติและศักดิ์ของนักศึกษาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ตลอดเวลาที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยจนถึงวันที่จะนำเสนอสภามหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติให้ปริญญา มาเป็นเกณฑ์ประกอบการพิจารณาด้วย
ทั้งนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับประกาศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
AES 652 วิทยานิพนธ์สาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษาเชิงประยุกต์ 12 หน่วยกิต
การศึกษาวิจัยเชิงลึกเชิงจริยธรรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาภาษาอังกฤษประยุกต์ซึ่งอาจรวมถึงการสื่อสารทางวิชาชีพและระหว่างประเทศ การใช้ภาษา การเรียนรู้และการสอนภาษา หรือประเด็นทางภาษาศาสตร์ประยุกต์ ผู้เข้าร่วมจะต้องออกแบบและดำเนินโครงการวิจัยตามรูปแบบการวิจัยทั่วไปภายใต้การดูแลของคณะกรรมการวิทยานิพนธ์
ผลการเรียนรู้:
- ดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงจริยธรรมและเชิงลึกในการศึกษาภาษาอังกฤษประยุกต์
- สร้างวิทยานิพนธ์ความยาวประมาณ 20,000-25,000 คำ
- เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ
AES 653 การศึกษาวิจัยสาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษาเชิงประยุกต์ 6 หน่วยกิต
การศึกษาวิจัยขนาดเล็กเชิงจริยธรรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาภาษาอังกฤษประยุกต์ซึ่งอาจรวมถึงการสื่อสารระดับมืออาชีพและระหว่างประเทศ การใช้ภาษา การเรียนรู้และการสอนภาษา หรือประเด็นทางภาษาศาสตร์ประยุกต์ ผู้เข้าร่วมจะต้องออกแบบและดำเนินโครงการวิจัยตามรูปแบบการวิจัยทั่วไปภายใต้การดูแลของหัวหน้างาน
ผลการเรียนรู้:
- ดำเนินการศึกษาวิจัยขนาดเล็กด้านจริยธรรมในการศึกษาภาษาอังกฤษประยุกต์
- ผลรายงานการวิจัยที่ดีควรมีความยาวประมาณ 10,000-15,000 คำ
AES 654 การศึกษาพิเศษสาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษาเชิงประยุกต์ 3 หน่วยกิต
การศึกษาอิสระหรือการศึกษาพิเศษด้านจริยธรรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาภาษาอังกฤษประยุกต์ซึ่งอาจรวมถึงการสื่อสารระดับมืออาชีพและระหว่างประเทศ การใช้ภาษา การเรียนรู้และการสอนภาษา หรือประเด็นทางภาษาศาสตร์ประยุกต์ ผู้เข้าร่วมจะต้องออกแบบและดำเนินโครงการวิจัยตามรูปแบบการวิจัยทั่วไปภายใต้การดูแลของหัวหน้างาน
ผลการเรียนรู้:
- ดำเนินการศึกษาอิสระหรือการศึกษาพิเศษด้านจริยธรรมในการศึกษาภาษาอังกฤษประยุกต์
- ผลงานวิจัยความยาวประมาณ 5,000-8,000 คำ
Translated by Google
Course Description
1. Foundation Cours
AES 600 ทักษะเชิงวิชาการ 3(3-0-9)(S/U)
Academic Skills
Pre-requisite : None
ภาษาเชิงวิชาการ การอ่านและการเขียนเชิงวิชาการ การคิดเชิงวิพากษ์ ทักษะการนำเสนอ ทักษะการอภิปราย การอ้างอิง
Academic language. Academic reading and writing. Critical thinking. Presentation skills. Discussion skills. Citation and referencing.
Learning outcomes:
- Assess the reliability and argumentation in various academic texts
- Express an argument and give supporting details in writing
- Apply citations and references into an academic argumentative writing
- Use academic language in writing, giving presentations and discussion.
2. Compulsory courses
AES 611 การวิเคราะห์การสื่อสารทางการเขียน 3(3-0-9)
Analysing Written Communication
Pre-requisite : None
ลักษณะของภาษาเขียน เป้าหมายของการสื่อสาร การเรียบเรียงและเชื่อมโยงเนื้อหา โครงสร้างข้อมูล กรอบทฤษฎีและแบบจำลองการวิเคราะห์ภาษา การวิเคราะห์คำศัพท์ การวิเคราะห์หลักไวยากรณ์ การวิเคราะห์โครงสร้างเนื้อหา ชนิดของงานเขียน การวิเคราะห์งานเขียนตามประเภท การสื่อสารเชิงพหุวิธี การวิเคราะห์วาทกรรมการเขียนในบริบทวิชาชีพ โครงงานการสื่อสารทางการเขียนที่มีประสิทธิภาพFeatures of written language. Communicative purposes. Cohesion and coherence. Information structure. Language-analytical frameworks and models. Lexical, grammatical and textual analysis. Text types. Text analysis. Genre analysis. Multimodality. Analyzing written discourse in professional contexts. Effective written communication project.
Learning outcomes:
- Identify features of effective and ineffective written communication
- Analyze a range of text types using appropriate frameworks and models
- Conduct a small-scale project on effective written communication
AES 612 การวิเคราะห์การสื่อสารทางวาจา 3(3-0-9)
Analysing Spoken Communication
Pre-requisite : None
ลักษณะของภาษาพูด วัจนปฏิบัติศาสตร์ หน้าที่ในการสื่อสาร หลักการร่วมมือในการสนทนา ประเภทของวาทกรรมทางวาจา วาทกรรมวิเคราะห์ การวิเคราะห์วาทกรรมทางวาจาในบริบทวิชาชีพ โครงงานการสื่อสารทางวาจาอย่างมีประสิทธิภาพ
Features of spoken language. Pragmatics. Communicative functions. Cooperative principles. Genres of spoken discourse. Discourse analysis. Analyzing spoken discourse in professional contexts. Effective spoken communication projects.
Learning outcomes:
- Evaluate features of spoken discourse in professional contexts
- Analyze spoken discourses and suggest how to produce effective communication
- Conduct a small-scale project on effective spoken communication
AES 621 การเรียนรู้และการใช้ภาษา 3(3-0-9)
Language Learning and Use
Pre-requisite : None
แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษา (แนวคิดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ หลักฐานของการเรียนรู้ การประเมินการเรียนรู้ ระบบนิเวศของการเรียนรู้) เป้าหมายการเรียนรู้ภาษา การเรียนรู้แบบลงมือทำ ทฤษฎีการเรียนรู้ แรงจูงใจในการเรียนรู้และระบบตน ระบบพลวัตที่ซับซ้อน ทฤษฎีการใช้ภาษา ความเต็มใจในการสื่อสาร ทฤษฎีวัฒนธรรมเชิงสังคมและความสามารถในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ชุมชนนักปฏิบัติ ระบบนิเวศของภาษา กลยุทธการสื่อสาร
Conceptions of language learning (quantitative and qualitative conceptions, evidence and assessment of learning, learning ecology). Goals of language learning. Active learning. Major language learning theories, learning motivation and self-system. Complex dynamic systems. Theories of language use. Willingness to communicate. Socio-cultural theories and Intercultural competence. Communities of practice. Language ecology. Communication strategies.
Learning outcomes:
- Explain major learning theories and concepts related to language learning.
- Analyze factors influencing language learning performance and situations.
- Evaluate strategies used in communicative and learning contexts
AES 631 การทำงานอย่างมืออาชีพในบริบทนานาชาติ 3(3-0-9)
Professionalism in International Workplaces
Pre-requisite : None
ความหมายและคุณสมบัติของความเป็นมืออาชีพในการทำงาน การสื่อสารอย่างมืออาชีพ (การสื่อสารระหว่างบุคคลและในกลุ่มงาน การสื่อสารอย่างมืออาชีพในระดับนานาชาติ การนำเสนองาน) การคิดเชิงออกแบบ การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ (ความเป็นผู้นำ การทำงานร่วมกัน การสร้างความเชื่อถือ การจัดการความขัดแย้ง การบริหารโครงการ การบริหารการเปลี่ยนแปลง) การพัฒนาบุคลิกภาพ จริยธรรมและมารยาททางธุรกิจ การเป็นพลเมืองโลก
Definition and qualities of professionalism. Professional communication (i.e. interpersonal, group, organization and intercultural communication, and presentation skills). Design thinking. Qualities of effective management (leadership, team work, building trust, conflict management, project management, change management). Personality development. Business ethics and etiquettes. Global citizenship.
Learning outcomes:
- Identify strengths and weaknesses in their personality and ways to improve the weaknesses
- Analyse issues of professionalism and communication problems in the workplace and suggest solutions
- Plan and implement a preliminary project to apply the solutions.
AES 641 เทคโนโลยีในการสื่อสารและการศึกษา 3(3-0-9)
Technology in Communication and Education
Pre-requisite : None
ทักษะความเข้าใจสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาทักษะการสอนภาษาและการพัฒนาทางวิชาชีพแบบทางการและกึ่งทางการ การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ภาษาและการสื่อสาร เทคโนโลยีสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
Computer and Information literacy. Technology for formal and informal language learning and professional development. Critical use of computer-based support tools for language learning and communication. Technology for qualitative and quantitative research.
Learning outcomes:
- Appraise the quality and usefulness of digital information using search strategies and critical evaluation of results
- Assess the use of computer-based language support tools
- Differentiate between qualitative and quantitative research and technological
AES 651 วิธีการวิจัย 3(3-0-9)
Research Methods
Pre-requisite : None
ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการทำวิจัยด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ กระบวนทัศน์ทางการวิจัยและการออกแบบงานวิจัย ข้อควรพิจารณาในการทำวิจัย การกำหนดหัวข้อวิจัย การสร้างกรอบงานวิจัย การเก็บข้อมูล เครื่องมือวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ การเขียนข้อเสนองานวิจัย จริยธรรมในการทำวิจัย
Introduction to research in applied linguistics. Research paradigms and research designs. Consideration in doing research: variables, subject selection, reliability and validity. Finding a research topic. Setting up a research framework. Data collecting procedure. Research instruments. Analysing and interpreting quantitative and qualitative data. Writing up a research proposal. Ethical issues in conducting research.
Learning outcomes:
- Critique research designs based on appropriate paradigms
- Apply appropriate research paradigms and designs
- Plan and implement a research proposal
3. Elective courses
3.1 English Language Teaching Track
AES 622 หลักการและการสอนภาษาอังกฤษ 3(3-0-9)
Principles and Practice of English Language Teaching
Pre-requisite : None
การสอนภาษาอังกฤษและนโยบายการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย บทบาทและจริยธรรมความเป็นครู กระบวนทัศน์การสอน หัวข้อการสอน (หน้าที่ทางภาษา ทักษะ ลักษณะของภาษา กลยุทธ์ และ สมรรถนะทาภาษา) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินการเรียนรู้ และ ความสอดคล้องในการออกแบบ ขั้นตอนและความเชื่อมโยงของบทเรียน การวางแผนการสอน การสอนแบบเพื่อนสอนเพื่อนและการทดลองสอน การสะท้อนประสบการณ์การสอน
English Language Teaching (ELT) and ELT policies in Thailand. Roles and ethics of teachers. Teaching paradigms. Teaching points (language functions, skills, language features, strategies, and other competence). Learning objectives, learning activities, learning assessment and their alignment. Stages in a lesson and transitions. Lesson planning. Peer teaching and micro teaching. Teaching reflection.
Learning outcomes:
- Identify underlying principles of language teaching and learning in an English lesson.
- Develop an effective lesson plan for teaching selected learning objectives.
- Use appropriate teaching techniques and activities in a peer- and a micro-teaching situation.
- Critically evaluate self- and peer- teaching performance for teaching development
AES 623 เทคนิคการสอนในภาคปฏิบัติ 3(3-0-9)
Teaching Techniques in Practice
Pre-requisite : None
การเตรียมการสอน การลงปฏิบัติสอน การประกันคุณภาพการเรียนการสอน การให้คำปรึกษาและให้ข้อคิดเห็นจากอาจารย์นิเทศ การสะท้อนความคิดของการลงปฏิบัติสอนของผู้สอนและการประเมินตนเองของผู้สอน
Preparation for teaching. Implementation of teaching and learning. Quality assurance of teaching and learning. Supervision and feedback of the teaching. Reflections on teaching performance and self-evaluation.
Learning outcomes:
- Apply the principles of teaching into practices.
- Create appropriate lesson plans and use them effectively.
- Creatively design and create meaningful activities and materials.
- Monitor and reflect ones’ own teaching as well as give feedback to co-teachers.
AES 624 การทดสอบและประเมินผล 3(3-0-9)
Testing and Assessment
Pre-requisite : None
การทดสอบและการประเมินผลเบื้องต้น การสร้างแบบทดสอบ รูปแบบของการทดสอบ การทดสอบทางภาษาและทักษะทั้งสี่ การวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ คลังข้อสอบ การประเมินรูปแบบอื่น การประเมินผลทางเลือกใหม่ งานวิจัยในการทดสอบทางภาษา ประเด็นต่าง ๆ ในการทดสอบและประเมินผล
Introduction to testing and assessment. Designing tests. Item test types. Testing of language and the four skills. Item Analysis. Test banking. Non-testing classroom assessment. Alternative assessment. Research conducted in language testing. Issues in testing and evaluation
Learning outcomes:
- Develop and evaluate classroom language tests
- Evaluate test quality and improve poor test items
- Design alternative assessments and rubrics suitable for the teaching context
- Analyse research conducted in language testing
AES 625 การออกแบบรายวิชาและบทเรียน 3(3-0-9)
Course and Materials Design
Pre-requisite : None
แนวทางการออกแบบรายวิชา การวิเคราะห์สถานการณ์และความต้องการจำเป็น ผลลัพธ์การเรียนรู้ เค้าโครงรายวิชา การออกแบบและการวางแผนหลักสูตร การประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการศึกษาในทางปฏิบัติ รูปแบบและแนวโน้มหลักสูตรในปัจจุบัน การสร้างและประเมินผลบทเรียน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาหลักสูตรและบทเรียน
Approaches to course design. Need and situation analysis. Learning outcomes. Course outlines. Course design and planning. Application of educational theories into practice. Current curriculum models and trends. Materials design and assessment. Related research in course design and materials development.
Learning outcomes:
- Conduct a need and situation analysis for a course design
- Design a course syllabus
- Design and assess teaching materials.
- Criticize research on course design and materials development
AES 626 ภาษาอังกฤษเฉพาะทาง 3(3-0-9)
English for Specific Purposes
Pre-requisite : None
นิยามและลักษณะของภาษาอังกฤษเฉพาะทาง การระบุวัตถุประสงค์ ความหลากหลายของภาษาอังกฤษเฉพาะทาง วิธีการสอนภาษาอังกฤษเฉพาะทาง รูปแบบการสื่อสารของชุมชน วิธีการตามทฤษฎีต่าง ๆ การสำรวจความต้องการของผู้เรียนภาษาอังกฤษเฉพาะทาง การวิเคราะห์งานวิจัยทางด้านภาษาอังกฤษเฉพาะทาง
Definitions and characteristics of English for Specific Purposes (ESP). Identifying objectives. Variety of ESP. Methodology in teaching ESP. Types of communities. Philosophical approaches. Conducting needs analysis for specific ESP groups. Analyse research in ESP.
Learning outcomes:
- Analyse communicative purposes and language functions in ESP contexts
- Conduct a needs analysis of target learners
- Analyse research conducted in the field of ESP
AES 627 วรรณกรรมศึกษาภาษาอังกฤษ 3(3-0-9)
English literary studies
Pre-requisite : None
ความสามารถทางวรรณกรรม วรรณคดีในฐานะแหล่งการเรียนการสอนภาษา วิเคราะห์ภาษาร้อยแก้ว ร้อยกรองและบทละคร ทฤษฎีวรรณกรรมวิจารณ์ในงานเขียนต่าง ๆ ความหมาย มุมมองและการตีความ วิเคราะห์บริบททางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมในวรรณคดี
Literary competence. Literature as sources of language learning and teaching. Analysing the language of prose, poetry and drama. Critical approaches to literary texts. Meaning, point of view and interpretation. Examining historical, social and cultural contexts in literature.
Learning outcomes:
- Explain the characteristics of each literary genre
- Apply critical theories in the interpretation of literary texts
- Explicate the history, society and culture related to literary texts
- Select literary texts for effective pedagogical practices
AES 628 การเรียนรู้ภาษาแบบพึ่งตนเองในโลกดิจิทัล 3(3-0-9)
Learner Autonomy in the Digital World
Pre-requisite : None
ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาแบบพึ่งตนเอง แนวทางการส่งเสริมความเป็นอิสระของผู้เรียน บทบาทของครูและนักเรียน แนวคิดของการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้ ปัจจัยทางอารมณ์ กลยุทธ์การเรียนรู้ แนวคิดในการให้คำปรึกษาด้านภาษา แนวปฏิบัติในการให้คำปรึกษาและสะท้อนการเรียนรู้ภาษา การฝึกอบรมผู้เรียน เทคโนโลยีกับการเรียนรู้เชิงอิสระและการเรียนรู้ด้วยตนเอง
Theories of language learner autonomy. Approaches to fostering learner autonomy. Teacher’s and students’ roles. Concepts of self-directed learning. Self-access learning. Learning management. Affective factors. Learning strategies. Concepts of language advising. Practices on language advising and reflection. Learner training. Technology with Learning autonomy and self-directed learning.
Learning outcomes:
- Create a language advising or learner training plan
- Give effective advice and consultations to support autonomous learning
- Apply appropriate technological tools to promote learner autonomy
AES 662 ประเด็นร่วมสมัยในวงการศึกษาภาษาอังกฤษ 3(3-0-9)
Contemporary Issues in English Education
Pre-requisite : None
เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา จริยธรรมในการสอนภาษาอังกฤษ การปฏิรูปการศึกษา การพัฒนาวิชาชีพ การผลิตครู ประเด็นร่วมสมัยด้านการศึกษา (ประเด็นด้านการสอนภาษาอังกฤษ และการวัดผล การศึกษาฐานสมรรถนะ การเรียนแบบออนไลน์ การศึกษาแบบนานาชาติ การสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ)
Goals and purposes of education. Ethics in ELT. Education reform. Professional development. Production of teachers. Contemporary issues in education (e.g. issues in English language teaching and assessment, competency-based education, online learning in ELT, international education and English-Medium Instruction).
Learning outcomes:
- Discuss current issues in English education.
- Analyze current trends in English education and their influences.
- Provide suggestions on how to deal with the issues
3.2 English for Professional Communication Track
AES 613 ภาษาศาสตร์สังคม 3(3-0-9)
Sociolinguistics
Pre-requisite : None
ภาษาและสังคม ภาษาและบริบท ภาษาและวัฒนธรรม ภาษาและอัตลักษณ์ ภาษาและเพศ การแปรของภาษา การสัมผัสภาษา ทัศนคติต่อภาษา ภาวะหลายภาษา การวางแผนและนโยบายภาษา ภูมิทัศน์ภาษา
Language and society. Language and context. Language and culture. Language and identity. Language and gender. Language variation. Language contact. Language attitude. Multilingualism. Language policy and planning. Linguistic landscape.
Learning outcomes:
- Describe key concepts related to sociolinguistics
- Analyse and discuss research related to sociolinguistics
- Conduct a small-scale research project related to pedagogical or professional practices
AES 614 วาทกรรมในสื่อดิจิทัล 3(3-0-9)
Discourse of Digital Media
Pre-requisite : None
ประวัติของสื่อดิจิทัล การสื่อสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ แพลตฟอร์มและเทคโนโลยีสื่อดิจิทัล ประเภทของวาทกรรมในสื่อดิจิทัล สื่อสังคมออนไลน์ ลักษณะทางภาษาของสื่อดิจิทัล ประเภทของวาทกรรมสื่อหลากรูปแบบ วาทกรรมดิจิทัลกับสังคม ชาติพันธุ์วรรณาดิจิทัล ทฤษฎีและแนวทางในการวิเคราะห์วาทกรรมดิจิทัล การวิจัยเกี่ยวกับสื่อดิจิทัล
History of digital media. Computer-mediated communication. Digital media platforms and technologies. Genres and registers of digital discourse. Social media. Linguistic features of digital media. Genres of multimodal discourse. Digital discourse and society. Digital ethnography. Theories and approaches to the analysis of digital discourse. Research in digital media.
Learning outcomes:
- Assess and categorize different types of digital media platforms/technologies
- Investigate linguistic aspects of electronic social media
- Evaluate different approaches to analyzing digital discourse
- Create a small corpus of social media discourse and analyze it with respect to selected course topics
AES 632 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม 3(3-0-9)
Intercultural Communication
Pre-requisite : None
การสื่อสารและวัฒนธรรม แนวคิดทางวัฒนธรรม ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและการตระหนักรู้ รูปแบบการสื่อสารในแต่ละวัฒนธรรม ความคาดหวังและวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม อุปสรรคเชิงวัฒนธรรมในการสื่อสารและประเด็นในที่ทำงาน การจัดการความสัมพันธ์และความขัดแย้ง ความสามารถและการปรับตัวเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
Communication and culture. Concept of culture. Cultural differences and awareness. Cultural communication styles. Varying cultural expectations and ways to communicate appropriately. Cultural misunderstandings and issues in the workplace. Rapport and conflict management. Intercultural competence. Cultural adaptation.
Learning outcomes:
- Describe different cultural values, expectations and communication styles of people from different cultural backgrounds
- Analyse causes of cultural issues and conflicts in intercultural communication and discuss practical solutions
- Develop a mini-project to investigate issues in intercultural communication.
AES 633 ภาษาอังกฤษในบริบทสากล 3(3-0-9)
English in Global Contexts
Pre-requisite : None
สถานะของภาษาอังกฤษในฐานะภาษาสากล การพัฒนาทางประวัติศาสตร์และสังคม กระบวนการการแปรของภาษา ลักษณะของภาษาอังกฤษรูปแบบต่าง ๆ รอบโลก การใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร ความเข้าใจในการสื่อสารและการยอมรับภาษาอังกฤษรูปแบบใหม่
Status of English as an international language. Historical and socio-cultural development. The process of language change: nativisation/localisation, codification and institutionalisation. Views on different varieties of English around the world. Use of English as a global lingua franca. Intelligibility and acceptance of new varieties of English.
Learning outcomes:
- Develop a critical understanding of English use in international contexts
- Explain characteristics of different English varieties using linguistic theories
- Discuss concepts of native and nonnative speakers of English, development process of new English varieties, intelligibility in English communication, attitudes and acceptance
- Conduct a small-scale research related to English use in international contexts
AES 634 สัญศาสตร์ประยุกต์ 3(3-0-9)
Applied Semiotics
Pre-requisite : None
แนวคิดและหลักการของสัญศาสตร์ประยุกต์ กรอบแนวคิดเพื่อการวิเคราะห์ภาษา ภาพ การออกแบบ ท่าทาง พื้นที่ และความสัมพันธ์ระหว่างภาพและภาษาผ่านมุมมองด้านสัญศาสตร์ประยุกต์ การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ด้านสัญศาสตร์ประยุกต์ในตัวบทหรือปฏิสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง
Concepts and principles of social semiotics. Frameworks for an analysis of language, visual design, gesture, space and visual-verbal relations through a social semiotic perspective. Applying a social semiotic analysis to relevant texts and interactions.
Learning outcomes:
- Describe concepts and principles of social semiotics,
- Identify appropriate frameworks for an analysis of relevant texts and interactions
- Conduct a social semiotic analysis of authentic texts
AES 635 การสื่อสารองค์กร 3(3-0-9)
Organizational Communication
Pre-requisite : None
หลักการและลักษณะของการสื่อสารในองค์กร การพูดวิสาสะและการพูดคุยทางธุรกิจ ความสุภาพและอำนาจในองค์กร วัฒนธรรมองค์กร การสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร การสื่อสารที่สัมฤทธิ์ผลและการสื่อสารที่ไม่สัมฤทธิ์ผล วาทกรรมทางวาจาและงานเขียนในบริบทงานอาชีพ เรื่องเล่าเกี่ยวกับงานและองค์กร การรู้ดิจิทัล
Principles and characteristics of communication in the organization. Small talk and business talk. Politeness and power in the workplace. Corporate culture. Internal and external organization communication. Successful workplace communication vs miscommunication. Workplace spoken and written discourse. Workplace narrative. Digital literacy.
Learning outcomes:
- Identify organization culture and communication styles
- Examine strengths and weaknesses of communication styles and devise a plan for improvement
- Analyze workplace spoken and written discourse
AES 636 การแปลเชิงประยุกต์ 3(3-0-9)
Applied Translation
Pre-requisite : None
หลักและทฤษฎีการแปล การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาไทย ภาษาและวัฒนธรรมในการแปล การแปลไทย-อังกฤษและอังกฤษ-ไทยในบริบทวิชาชีพ การวิเคราะห์ความผิดในการแปล วิเคราะห์ปัญหาในการแปล เทคโนโลยีสำหรับการแปลและข้อจำกัด
Principles and theories of translation. Contrastive analysis of English and Thai languages. Language and culture in translation. Practical translation both from Thai to English and from English to Thai in professional contexts. Error analysis in translation. Analyzing problems in translating. Technologies for translation and their limitations.
Learning outcomes:
- Translate various text types from Thai to English and English to Thai using translation theories
- Conduct contrastive analysis of English and Thai to identify major areas of problems in translation
- Use available technology to support translation
AES 637 สื่อสร้างสรรค์และการสื่อสาร 3(3-0-9)
Creative Content and Communication
Pre-requisite : None
ทฤษฎีการสื่อสาร การโน้มน้าว สื่อสารมวลชน ช่องทางการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ และกลยุทธในการสื่อสาร การตลาดดิจิทัล การตลาดอิงเนื้อหาและการสร้างเนื้อหา การออกแบบการสื่อสารโดยใช้องค์ประกอบที่หลากหลาย
Communication theories. Persuasive communication. Mass communication. Channels and platforms of communication and communication strategies. Digital marketing. Content marketing and copywriting. Multimodal communication and design.
Learning outcomes:
- Discuss communication strategies appropriate for different communication purposes
- Evaluate the appropriacy of communication channels, platforms and strategies
- Develop creative stories for content marketing
3.3 General elective courses
AES 642 การประยุกต์ใช้คลังข้อมูล 3(3-0-9)
Corpus Applications
Pre-requisite : None
ประวัติและวัตถุประสงค์ของภาษาศาสตร์คลังข้อมูล รูปแบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของภาษาศาสตร์คลังข้อมูล การสร้างคลังข้อมูล การกำกับข้อมูลทางภาษาในคลังข้อมูล ซอฟท์แวร์ที่ใช้วิเคราะห์คลังข้อมูล รายการคำ รายการความถี่ของคำ คำสำคัญ กลุ่มคำ (เอ็นแกรม) การใช้คลังข้อมูลในวิชาชีพและในการเรียนภาษา การวิจัยด้านภาษาศาสตร์คลังข้อมูล
History and purposes of Corpus Linguistics. Quantitative and qualitative approaches to corpus linguistics. Creation of corpora. Corpus annotation. Corpus software. Word lists. Frequency Lists. Keywords. Word clusters (n-grams). Use of corpora in professional settings and language learning. Research in corpus linguistics.
Learning outcomes:
- Analyze the difference between quantitative and qualitative corpus linguistics
- Use corpus linguistic software and web-based, large-scale corpora applying core methods
- Create a small English corpus in order to carry out linguistics research and write a report on the findings
AES 661 การสัมมนาทางภาษาอังกฤษศึกษาเชิงประยุกต์ 3(3-0-9)
Seminar in Applied English Studies
Pre-requisite : None
ประเด็นหรือหัวข้อวิจัยร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษศึกษาเชิงประยุกต์
Research and current issues in Applied English Studies.
Learning outcomes:
- Review research and current issues in Applied English Studies
- Criticize and discuss research and issues in Applied English Studies
4. Thesis / Independent study
แผน ก 2 (วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต) / Plan A (12 credit thesis)
AES 652 วิทยานิพนธ์ทางภาษาอังกฤษศึกษาเชิงประยุกต์ 12 หน่วยกิต
Thesis in Applied English Studies
Pre-requisite : AES 651 Research Methods
วิทยานิพนธ์ทางภาษาอังกฤษศึกษาเชิงประยุกต์ เป็นโครงการศึกษาวิจัยเชิงลึก ที่เป็นไปตามกรอบจริยธรรมการวิจัย หัวข้อการศึกษาเกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและการสื่อสารเชิงวิชาชีพ การใช้ภาษา การเรียนรูและการสอนภาษา หรือประเด็นทางภาษาศาสตร์ประยุกต์ นักศึกษาจะต้องออกแบบงานวิจัยและดำเนินการตามระเบียบวิธีการวิจัยโดยทำงานภายใต้การแนะนำของคณะกรรมการวิทยานิพนธ์
An ethical in-depth research study on topics related to applied English studies which may include professional and international communication, language use, language learning and teaching, or issues in applied linguistics. Participants are required to design and undertake a research project, following a conventional research format, under the supervision of the thesis committee.
Learning outcomes:
- Conduct an ethical and in-depth research study in applied English studies
- Produce a thesis length around 20,000-25,000 words
- Disseminate a research paper in a national or international journals
แผน ข (การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต) / Plan B1 (6 credit research)
AES 653 โครงการศึกษาวิจัยทางภาษาอังกฤษศึกษาเชิงประยุกต์ 6 หน่วยกิต
Research Study in Applied English Studies
Pre-requisite : AES 651 Research Methods
โครงการศึกษาวิจัยทางภาษาอังกฤษศึกษาเชิงประยุกต์ เป็นโครงการศึกษาวิจัยขนาดเล็ก ที่เป็นไปตามกรอบจริยธรรมการวิจัย หัวข้อการศึกษาเกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและการสื่อสารเชิงวิชาชีพ การใช้ภาษา การเรียนรูและการสอนภาษา หรือประเด็นทางภาษาศาสตร์ประยุกต์ นักศึกษาจะต้องออกแบบงานวิจัยและดำเนินการตามระเบียบวิธีการวิจัยโดยทำงานภายใต้การแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา
An ethical small-scale research study on topics related to applied English studies which may include professional and international communication, language use, language learning and teaching, or issues in applied linguistics. Participants are required to design and undertake a research project, following a conventional research format, under the supervision of the supervisor.
Learning outcomes:
- Conduct an ethical small-scale research study in applied English studies
- Produce a good research report length around 10,000-15,000 words.
แผน ข (การค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต) / Plan B2 (3 credit independent study)
AES 654 การศึกษาพิเศษทางภาษาอังกฤษศึกษาเชิงประยุกต์ 3 หน่วยกิต
Special Study in Applied English Studies
Pre-requisite : AES 651 Research Methods
การศึกษาพิเศษทางภาษาอังกฤษศึกษาเชิงประยุกต์ เป็นการโครงการศึกษาอิสระหรือโครงการศึกษาขนาดเล็กที่เป็นไปตามกรอบจริยธรรมการวิจัย หัวข้อการศึกษาเกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและการสื่อสารเชิงวิชาชีพ การใช้ภาษา การเรียนรูและการสอนภาษา หรือประเด็นทางภาษาศาสตร์ประยุกต์ นักศึกษาจะต้องออกแบบงานวิจัยและดำเนินการตามระเบียบวิธีการวิจัยโดยทำงานภายใต้การแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาAn ethical independent or special study on topics related to applied English studies which may include professional and international communication, language use, language learning and teaching, or issues in applied linguistics. Participants are required to design and undertake a research project, following a conventional research format, under the supervision of a supervisor.
Learning outcomes:
- Conduct an ethical independent or special study in applied English studies
- Produce a research paper length around 5,000-8,000 words.
PLO 1 แสดงให้เห็นถึงความรู้และทักษะภาษาอังกฤษที่ใช้บังคับและหลักการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนภาษาอังกฤษประยุกต์
PLO1.1 ใช้ภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพในบริบทการสื่อสาร
PLO1.2 ใช้หลักการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนภาษาอังกฤษประยุกต์เพื่อวิเคราะห์ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาษาอย่างมีประสิทธิภาพ
PLO1.3 ประเมินบทบาทและอิทธิพลของภาษาอังกฤษในระดับโลกและระดับท้องถิ่น
PLO 2 ดำเนินการอย่างมีประสิทธิผลในบริบทภาษาอังกฤษแบบมืออาชีพ
PLO2.1 ใช้ทักษะวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดการงาน
PLO2.2 ใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน
PLO2.3 ติดตามและพัฒนาผลงานของตนเองเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ
PLO2.4 ฝึกความเป็นผู้นำและทักษะการทำงานเป็นทีม
PLO 3 ผลิตผลงานวิจัยคุณภาพดีด้านภาษาอังกฤษประยุกต์
PLO3.1 เลือกกระบวนทัศน์การวิจัยที่เหมาะสมและระเบียบวิธีวิจัยที่สอดคล้องกับมาตรฐานทางจริยธรรม
PLO3.2 ดำเนินการวิจัยที่ก่อให้เกิดแนวคิดหรือความเข้าใจใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาภาษาอังกฤษประยุกต์
PLO3.3 เผยแพร่งานวิจัยไปยังชุมชนวิชาชีพที่เหมาะสม
PLO4 ปลูกฝังการพัฒนาตนเองและความรับผิดชอบต่อสังคม
PLO4.1 แสดงให้เห็นถึงการซักถามเชิงวิพากษ์และทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
PLO4.2 แสดงให้เห็นถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ ความซื่อสัตย์ และความรับผิดชอบต่อสังคมต่อวิชาชีพและชุมชน
ค่าเล่าเรียน (สำหรับนักศึกษาไทยและต่างชาติ)
หลักสูตรปกติ (จันทร์-ศุกร์)
ค่าเทอม | ภาคการศึกษา | ปี |
ค่าเล่าเรียน | 15,000 | 30,000 |
ค่าลงทะเบียน (1,500 บาท/หน่วยกิต) | 13,500 | 27,000 |
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร | 114,000 บาท/ คน |
หลักสูตรพิเศษ(วันเสาร์-วันอาทิตย์)
ค่าเทอม | ภาคเรียน | ปี |
ค่าเล่าเรียน | 18,000 | 54,000 |
ค่าลงทะเบียน (2,000 บาท/ หน่วยกิต ) | 12,000 | 36,000 |
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร | 180,000 บาท/ คน |
** จำนวนนี้ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าประกันอุบัติเหตุ และบัตรประกันสุขภาพ **
Translated by Google
มหาวิทยาลัยมอบทุนการศึกษาเพื่อสนับสนุนนักศึกษาที่มีศักยภาพและความสามารถ ทุนการศึกษาจะได้รับภายในระยะเวลาการศึกษาที่ระบุไว้ในหลักสูตร (2 ปีสำหรับ MA ใน AES) และภายใต้เงื่อนไขที่ระบุของทุนการศึกษาแต่ละทุน นอกจากนี้นักศึกษายังต้องรักษา GPAX อีกด้วย คะแนนไม่ต่ำกว่า 3.25 ทุนการศึกษาขึ้นอยู่กับความพร้อมและมีการแข่งขันสูง นักศึกษาที่ต้องการสมัครขอรับทุนจะต้องระบุเจตนารมณ์อย่างชัดเจนในขั้นเริ่มต้นของกระบวนการรับสมัคร
1.ทุนปริญญาโทเพชรพระจอมเกล้า
ทุนการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถทางวิชาการที่โดดเด่นและยกระดับประสบการณ์การวิจัยและพัฒนา มีทุนการศึกษาระดับปริญญาเพชรพระจอมเกล้าเพียง 1 ทุนเท่านั้นที่ได้รับสำหรับโครงการในแต่ละปีการศึกษา
ทุนการศึกษาครอบคลุม
- ค่าเล่าเรียน
- ค่าครองชีพรายเดือน 8,000 บาท/เดือน
(ผู้รับทุนที่ได้รับการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารนานาชาติ Q1 หรือ Q2 ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยมีเงื่อนไขว่าเป็นผู้แต่งคนแรกในฐานข้อมูล Web of Science หรือ Scorpus ตามประกาศล่าสุดในวันที่ส่งเพื่อตีพิมพ์ จะต้อง ไตรมาสที่ 1 ฉบับละ 10,000 บาท และบทความไตรมาสที่ 2 ฉบับละ 5,000 บาท ทั้งนี้ ให้พิจารณาภายหลังจากได้รับแจ้งให้ตีพิมพ์บทความหรือหลังจากตีพิมพ์บทความแล้ว ทั้งนี้ ให้จัดให้ภายในระยะเวลาโครงการ)
2. ทุนการศึกษาประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)
ทุนการศึกษานี้มอบให้เป็นพิเศษสำหรับเจ้าหน้าที่และนักเรียนของประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง: สปป. ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ เวียดนาม และจีน (โดยเฉพาะมณฑลยูนนาน) จะต้องได้รับผ่านกระบวนการสรรหาบุคลากรเท่านั้น
ทุนการศึกษาครอบคลุม
- ค่าเล่าเรียน 60,000 บาท/ปี
- ค่าธรรมเนียมสินเชื่อ 80,000 บาท/ปี
- ค่าที่พัก 3,000 บาท/เดือน
- ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ 2,300 บาท/ปี
3. ทุนการศึกษาพหุปัญญา
ทุนการศึกษานี้มอบให้เป็นพิเศษสำหรับนักเรียนจากประเทศกัมพูชา สปป. ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม อย่างไรก็ตาม มีการแข่งขันสูงเนื่องจากมีการเสนอทุนการศึกษาพหุปัญญาเพียง 2 ทุนทั่วทั้งมหาวิทยาลัยในแต่ละปี เพื่อแสดงความขอบคุณและผูกพันต่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้ทรงมีส่วนสนับสนุนการศึกษาในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ทุนการศึกษาครอบคลุม
- ค่าเล่าเรียน
- ค่าครองชีพรายเดือน 10,000 บาท/เดือน
- อุปกรณ์การเรียน 10,000 บาท/ปี
- ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ 2,300 บาท/ปี
4.โครงการทุนการศึกษานานาชาติ มจธ. (KISP)
ทุนการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยนี้มอบให้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายความเป็นสากลเพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษาต่างชาติ KISP เปิดสอนสำหรับนักเรียนจากประเทศต่างประเทศ ยกเว้นเวียดนาม สปป. ลาว เมียนมาร์ และกัมพูชา
ทุนการศึกษาครอบคลุม
- ค่าเล่าเรียน
- ค่าครองชีพรายเดือน 10,000 บาท/เดือน
- อุปกรณ์การเรียน 10,000 บาท/ปี
- ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ 2,300 บาท/ปี
5. การสนับสนุนทางการเงินของคณะศิลปศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์มีแหล่งความช่วยเหลือทางการเงินมากมายสำหรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเยี่ยม
- นักศึกษาที่เลือกทำวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต สามารถสมัครขอรับทุนวิจัยที่ครอบคลุมค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมหน่วยกิตสำหรับปีที่สอง
- นักศึกษาที่สนใจหาประสบการณ์การทำงานในด้านวิชาการสามารถทำงานเป็นผู้ช่วยสอนหรือผู้ช่วยวิจัยหรือดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถระดับโลกของนักศึกษาระดับปริญญาตรีซึ่งเป็นภารกิจหนึ่งของคณะศิลปศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์ ยังให้ทุนสำหรับนักศึกษาเพื่อนำเสนอผลงานในการประชุมระดับนานาชาติในประเทศไทย แต่การประชุมนั้นจะต้องมีการดำเนินการ
Translated by Google
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษาเชิงประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) ยินดีต้อนรับผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดก็ได้จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรอง
ผู้สมัครสามารถเลือกเรียนภาคปกติหรือภาคพิเศษ (เสาร์-อาทิตย์)ได้
- หลักสูตรปกติเริ่มในภาคเรียนแรกของปีการศึกษาใดก็ได้ (ประมาณเดือนสิงหาคม)
- หลักสูตรเสาร์-อาทิตย์จะเริ่มในภาคการศึกษาที่สองของปีการศึกษาใดก็ได้ (ประมาณเดือนมกราคม)
ตารางการรับสมัคร: เปิดรับสมัครตลอดทั้งปีผ่าน: https://admission.kmutt.ac.th/
ขอแนะนำให้ผู้สมัครส่งใบสมัครก่อนกำหนดเวลาในแต่ละรอบ
กำหนดการรับสมัครนักศึกษาไทย ( ภายใน 23 มิถุนายน 2567 ) : คลิก
กำหนดรับสมัครนักศึกษาต่างชาติ ( ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ) : คลิก
ขั้นตอนการรับสมัคร:
การคัดเลือกจะขึ้นอยู่กับสองด้าน: 1) ความสามารถทางภาษาอังกฤษ และ 2) การสัมภาษณ์
- ความสามารถทางภาษาอังกฤษ: เพื่อประเมินภาษาอังกฤษของผู้สมัคร ผู้สมัครสามารถเลือกทำแบบทดสอบความสามารถทางภาษาภายใน หรือแสดงหลักฐานว่าได้รับคะแนน IELTS, TOEFL ดังต่อไปนี้
Internal Test | IELTS | TOEFL IBT |
50 | 6 | 70 |
ผู้สมัครที่เหมาะสมซึ่งมีภาษาอังกฤษไม่เพียงพอจะต้องเรียนหลักสูตรการปรับปรุงภาษาอังกฤษแบบไม่นับหน่วยกิต
- การสัมภาษณ์: การสัมภาษณ์มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจทัศนคติและความเหมาะสมของผู้สมัคร คณะกรรมการรับเข้าเรียนจะพิจารณาสิ่งเหล่านี้จากประวัติการศึกษา ความสามารถทางภาษาอังกฤษ เป้าหมาย และความมุ่งมั่นในการสำเร็จหลักสูตรและข้อเสนอแนะ
Translated by Google
แบบฟอร์ม
1. Form G.3_3 credit
2. Form G.3_6 credit
3. Form G.3_12 credit
4. Proposal Exam Form_12 credit
5. Thesis Committee Form
6. MA Graduation
7. Agreement on Intellectual Property Rights Transfer
Thesis Templates
1. Thesis Manual (English)
2. Template Thesis (English)
3. Format IS (3 credit)
4. Ref.
5. Thesis example
- IS (3 Credits)
- Research Study (6 credit)
- Thesis (12 credit)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
สอบถามข้อมูลด้านวิชาการ
- ดร.รัชนี เดอร์ซิงค์
โทร: 02-470-8764 แฟกซ์: 02-428-3375
อีเมล์: rachanee.der@mail.kmutt.ac.th - ดร.ปุณยภา แสงศรี
โทร: 02-470-8760 แฟกซ์: 02-428-3375
อีเมล์: punyapa.sae@kmutt.ac.th - ดร.นภัค โชติสวัสดิ์
- โทร: 02-470-8760 แฟกซ์: 02-428-3375
- อีเมล์: napak.cho@kmutt.ac.th, napak.cho@mail.kmutt.ac.th
สอบถามข้อมูลรับสมัคร