รายละเอียดหลักสูตร
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Arts (Environmental Social Sciences)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.A. (Environmental Social Sciences)
วิชาเอก
ไม่มี
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
- แผน ก2 (วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต) 36 หน่วยกิต
- แผน ข (การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต) 36 หน่วยกิต
รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาโท (2 ปี) ได้แก่ แผน ก2 และ แผน ข
ภาษาที่ใช้
หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและมีการใช้เอกสารและตำราเรียนเป็นภาษาอังกฤษ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
(1) นักพัฒนาชุมชนในมิติสังคมและสิ่งแวดล้อม
(2) เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร ในโครงการภาคเอกชน ภาครัฐ
(3) เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility)
(4) ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
(5) นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ระบบ
ระบบการจัดการศึกษา ใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
ไม่มี
การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
ไม่มี
วัน–เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
นอกวัน – เวลาราชการ ระหว่างวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 17.30 – 20.30 น.
และ/หรือ ระหว่างเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น.
ทั้งนี้ วันเวลาในการดำเนินการเรียนการสอนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
ปฏิทินการศึกษา
ภาคการศึกษาที่ 1 เริ่มเปิดสอนในเดือนสิงหาคม – เดือนธันวาคม
ภาคการศึกษาที่ 2 เริ่มเปิดสอนในเดือนมกราคม – เดือนพฤษภาคม
โปรแกรมโปรไฟล์
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์
ปรัชญา
มุ่งผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม ที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะทางสังคมศาสตร์ และประสบการณ์ภาคสนามในการจัดการสิ่งแวดล้อม และมีกระบวนทัศน์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ
ความสำคัญ
การพัฒนาประเทศในระยะที่ผ่านมา อาทิ การพัฒนาอุตสาหกรรม การทำเกษตรกรรม และการพัฒนาการท่องเที่ยว ได้ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้างทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก อาทิ การปนเปื้อนของมลพิษในสิ่งแวดล้อมชุมชนท้องถิ่น การเกิดมลภาวะในชุมชนเมือง การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก การสูญเสียพื้นที่ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศทางธรรมชาติ นำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ที่มีโครงการพัฒนา และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวม นอกจากนี้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในทุกระดับยังส่งผลต่อขีดความสามารถของการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตอีกด้วย ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น คือ การขาดการวางแผนพัฒนาโครงการอย่างรอบคอบ ขาดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงผลกระทบของการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติทางสังคม รวมถึงการขาดความตระหนักถึงความยั่งยืนในการพัฒนา
การบูรณาการศาสตร์ทางด้านสังคมศาสตร์ในกระบวนการวางแผนและตัดสินใจเพื่อพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยจะช่วยให้เกิดความเข้าใจถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น สามารถคาดการณ์ผลกระทบของการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดกระบวนทัศน์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมไปถึงเข้าใจบทบาทสำคัญของกลไกทางสังคมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
สายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาทรัพยากรบุคคลภายในประเทศให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและมีความเชี่ยวชาญทางด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคมให้ยั่งยืนได้ ทางหลักสูตรได้จำแนกหน่วยการเรียนรู้ต่าง ๆ ออกเป็น 4 กลุ่มหลักเพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียน 4 ด้าน ดังนี้ 1) ศักยภาพในการคาดการณ์ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาโครงการต่าง ๆ มีวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม การประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ สังคมวิทยาความเสี่ยงและความไม่แน่นอน เป็นต้น 2) ศักยภาพในการพัฒนาโครงการความยั่งยืนหรือโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรต่าง ๆ มีวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กิจการเพื่อสังคม ธรรมาภิบาลในองค์กร เป็นต้น 3) ศักยภาพในการวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน สร้างความสมดุลระหว่างสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม มีวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น การวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนการวางแผนแม่บทชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น เป็นต้น และ 4) ศักยภาพในการทำวิจัยด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม มีวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นต้น
ดังนั้น หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อมจึงเป็นหลักสูตรที่ตอบสนองต่อบริบทการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนที่ให้ความสำคัญกับมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ยังเป็นหลักสูตรที่สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agents) ที่มีทั้งความรู้และทักษะในการทำงานในองค์กรต่าง ๆ เช่น นักพัฒนาชุมชน เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม ผู้ชำนาญการด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมการประเมินคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์และคุณค่าคุณภาพชีวิต ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองในการพัฒนาประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตบัณฑิตด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้องค์ความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ประเมินผลกระทบและนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถวางแผนยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมและแผนการพัฒนาชุมชนและองค์กรอย่างยั่งยืน
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการทำวิจัยด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program Learning Outcome: PLO)
PLO 1: สามารถกำหนดแนวทางการจัดการผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากโครงการพัฒนาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
1.1 สามารถวิเคราะห์บริบทสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการพัฒนาได้
1.2 สามารถประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎีทางด้านสังคมศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม
เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากโครงการพัฒนา
1.3 สามารถประเมินแนวทาง มาตรการ หรือทางเลือก เพื่อลดผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และ
สิ่งแวดล้อมที่เกิดจากโครงการพัฒนา โดยยึดหลักคุณธรรม และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
PLO 2: สามารถกำหนดนโยบาย และแผนการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
2.1 สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือ กลไก มาตรการทางด้านสังคมในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชน
2.2 สามารถออกแบบนโยบายและจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับชุมชน
PLO 3: สามารถวางแผนกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรได้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
3.1 สามารถวิเคราะห์ความต้องการของชุมชน สังคมเพื่อจัดทำโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
3.2 สามารถสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและ
สิ่งแวดล้อม
3.3 สามารถออกแบบโครงการ กิจกรรม และจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและ
สิ่งแวดล้อมได้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
PLO 4: สามารถดำเนินการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
4.1 สามารถออกแบบกระบวนการวิจัยและดำเนินการวิจัยที่สอดคล้องกับประเด็นทางสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
4.2 สามารถจัดทำรายงานการศึกษาหรือรายงานการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
4.3 สามารถนำเสนอแนวทางในการจัดการหรือแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
PLO 5: สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
5.1 สามารถสื่อสารและนำเสนอสารสนเทศต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสาธารณะได้ ภายใต้ความ
หลากหลายทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
5.2 สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความหลากหลายทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
โครงสร้างหลักสูตร
แผนการศึกษา | หมวดวิชา | จำนวนหน่วยกิต |
แผน ก 2 (วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต) | ก.หมวดวิชาบังคับ | 21 |
ข.หมวดวิชาเลือก | 3 | |
ค.วิทยานิพนธ์ | 12 | |
รวม | 36 หน่วยกิต | |
แผน ข (การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต) | ก.หมวดวิชาบังคับ | 21 |
ข.หมวดวิชาเลือก | 9 | |
ค.วิทยานิพนธ์ | 6 | |
รวม | 36 หน่วยกิต |
รายวิชา หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
หมวดวิชา | รายวิชา | จำนวนหน่วยกิต |
หมวดวิชาภาษาอังกฤษ(ไม่นับหน่วยกิต) | LNG 550 วิชาปรับพื้นภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (Remedial English Course for Post Graduate Students) | 2 (1-2-6) (S/U) |
LNG 600 วิชาภาษาอังกฤษระหว่างการเรียนในหลักสูตรสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (In-sessional English Course for Post Graduate Students) | 3 (2-2-9) (S/U) |
หมายเหตุ : นักศึกษาต้องเรียนวิชา LNG 550 และ/หรือ LNG 600 และ/หรือได้รับการ ยกเว้นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับคะแนนการทดสอบและเงื่อนไขตามที่คณะศิลปศาสตร์กำหนด
ก. หมวดวิชาบังคับ (21 หน่วยกิต)
หมวดวิชา | รายวิชา | จำนวนหน่วยกิต |
ก. หมวดวิชาบังคับ (21 หน่วยกิต) | ESS 601 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน (Environmental Sciences and Sustainability) | 3(3-0-9 |
ESS 621 การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social and Environmental Impact Assessments) | 3(3-0-9 | |
ESS 622 การวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน (Community Environmental Planning and Management) | 3(3-0-9 | |
ESS 631 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Social Science Research Methodology) | 3(3-0-9 | |
ESS 641 เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Economics) | 3(3-0-9 | |
ESS 651 ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social and Environmental Responsibility) | 3(3-0-9 | |
ESS 681 การศึกษาภาคสนาม (Field Study) | 1(0-2-3) | |
ESS 691 สัมมนา 1 (Seminar I) | 1(0-2-3) | |
ESS 692 สัมมนา 2 (Seminar II) | 1(0-2-3) |
- หมวดวิชาเลือก แบ่งเป็น 4 กลุ่มวิชา 3/9 หน่วยกิต
- สำหรับนักศึกษาแผน ก 2 นักศึกษาต้องเลือกเรียนวิชาเลือก 1 วิชา จากวิชาเลือกในกลุ่ม ข.1- ข.4
- สำหรับนักศึกษาแผน ข นักศึกษาต้องเลือกเรียนวิชาเลือกให้ครบ 3 วิชา จากวิชาเลือกในกลุ่ม ข.1- ข.4 (ซ้ำกลุ่มได้)
หมวดวิชา | รายวิชา | จำนวนหน่วยกิต |
ข.1 กลุ่มวิชาด้านการจัดการผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม | ESS 623 สังคมวิทยาความเสี่ยงและความไม่แน่นอน (Sociology of Risk and Uncertainty) | 3(3-0-9 |
ESS 624 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพระดับชุมชน (Community Health Impact Assessment) | 3(3-0-9 | |
ESS 625 การสื่อสารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Risk Communication) | 3(3-0-9 | |
ESS 653 การประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ (Strategic Environmental Assessment) | 3(3-0-9 | |
ข.2 กลุ่มวิชาด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม | ESS 654 การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนขององค์กร (Corporate Sustainability Management) | 3(3-0-9 |
ESS 655 กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) | 3(3-0-9 | |
ESS 656 ธรรมาภิบาลในองค์กร (Corporate Governance) | 3(3-0-9 | |
ESS 657 ประเด็นความยั่งยืนระดับสากลและความรับผิดชอบขององค์กร (Global Sustainability Issues and Corporate Responsibility) | 3(3-0-9 | |
ข.3 กลุ่มวิชาด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน | ESS 626 นิเวศวิทยาการเมือง (Political Ecology) | 3(3-0-9 |
ESS 627 การวางแผนแม่บทชุมชน (Community Master Plan) | 3(3-0-9 | |
ESS 628 สังคมวิทยาสิ่งแวดล้อม (Environmental Sociology) | 3(3-0-9 | |
ESS 629 การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วม (Participatory Process Development) | 3(3-0-9 | |
ESS 642 การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local Economic Development) | 3(3-0-9 | |
ข.4 กลุ่มวิชาอื่น ๆ | ESS 632 สถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Statistics for Social Science Research) | 3(3-0-9 |
ESS 643 เศรษฐศาสตร์พลังงานและนโยบาย (Energy Economics and Policy) | 3(3-0-9 | |
ESS 652 นวัตกรรมการจัดการความขัดแย้ง (Innovative Management of Conflict) | 3(3-0-9 | |
ESS 671 จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม (Environmental Psychology) | 3(3-0-9 | |
ESS 695 หัวข้อพิเศษ 1 (Special Topic I) | 3(3-0-9 | |
ESS 696 หัวข้อพิเศษ 1 (Special Topic II) | 3(3-0-9 |
- วิทยานิพนธ์ /การค้นคว้าอิสระ 6 /12 หน่วยกิต
- หมวดวิชารายวิชาจำนวนหน่วยกิตค. วิทยานิพนธ์ /การค้นคว้าอิสระESS 693 การค้นคว้าอิสระ (Independent Study)6 หน่วยกิต(6/12 หน่วยกิต)ESS 694 วิทยานิพนธ์ (Thesis)12 หน่วยกิต
แผนการสอน
แผน ก 2 (วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต)
ชั้นปี/ภาคการศึกษา | รายวิชา | จำนวนหน่วยกิต |
ปี 1 ภาคการศึกษาที่ 1 | ESS 601 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน(Environmental Sciences and Sustainability) | 3(3-0-9) |
ESS 631 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Science Research Methodology) | 3(3-0-9) | |
ESS 641 เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม(Environmental Economics) | 3(3-0-9) | |
รวม 9(9-0-27) | ชั่วโมง /สัปดาห์ = 36 | |
ปี 1 ภาคการศึกษาที่ 2 | ESS 621 การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม(Social and Environmental Impact Assessments) | 3(3-0-9) |
ESS 622 การวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน(Community Environmental Planning and Management) | 3(3-0-9) | |
ESS 651 ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม(Corporate Social and Environmental Responsibility) | 3(3-0-9) | |
ESS 691 สัมมนา 1 (Seminar I) | 1(0-2-3) | |
รวม 10(9-2-30) | ชั่วโมง /สัปดาห์ = 41 | |
ปี 2 ภาคการศึกษาที่ 1 | ESS 681 การศึกษาภาคสนาม (Field Study) | 1(0-2-3) |
ESS 691 สัมมนา 2 (Seminar II) | 1(0-2-3) | |
XXXXXX วิชาเลือก (Elective) | 3(3-0-9) | |
ESS 694 วิทยานิพนธ์ (Thesis) | 3(0-6-12) | |
รวม 8(3-10-27) | ชั่วโมง /สัปดาห์ = 40 | |
ปี 2 ภาคการศึกษาที่ 2 | ESS 694 วิทยานิพนธ์ (Thesis) | 9(0-18-36) |
รวม 9(0-18-36) | ชั่วโมง /สัปดาห์ = 54 |
แผน ข (การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต)
ชั้นปี/ภาคการศึกษา | รายวิชา | จำนวนหน่วยกิต |
ปี 1 ภาคการศึกษาที่ 1 | ESS 601 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน(Environmental Sciences and Sustainability) | 3(3-0-9) |
ESS 631 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Science Research Methodology) | 3(3-0-9) | |
ESS 641 เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม(Environmental Economics) | 3(3-0-9) | |
รวม 9(9-0-27) | ชั่วโมง /สัปดาห์ = 36 | |
ปี 1 ภาคการศึกษาที่ 2 | ESS 621 การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม(Social and Environmental Impact Assessments) | 3(3-0-9) |
ESS 622 การวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน(Community Environmental Planning and Management) | 3(3-0-9) | |
ESS 651 ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม(Corporate Social and Environmental Responsibility) | 3(3-0-9) | |
ESS 691 สัมมนา 1 (Seminar I) | 1(0-2-3) | |
รวม 10(9-2-30) | ชั่วโมง /สัปดาห์ = 41 | |
ปี 2 ภาคการศึกษาที่ 1 | ESS 681 การศึกษาภาคสนาม (Field Study) | 1(0-2-3) |
ESS 691 สัมมนา 2 (Seminar II) | 1(0-2-3) | |
XXXXXX วิชาเลือก (Elective) | 3(3-0-9) | |
XXXXXX วิชาเลือก (Elective) | 3(3-0-9) | |
รวม 8(6-4-24) | ชั่วโมง /สัปดาห์ = 34 | |
ปี 2 ภาคการศึกษาที่ 2 | XXXXXX วิชาเลือก (Elective) | 3(3-0-9) |
ESS 693 การค้นคว้าอิสระ (Independent Study) | 6(0-12-24) | |
รวม 9(3-12-33) | ชั่วโมง /สัปดาห์ = 48 |
คำอธิบายรายวิชา
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ชื่อ | คุณวุฒิการศึกษา | สาขาวิจัย |
ผศ.ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ | การบริหารการพัฒนา (2546, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ประเทศไทย) | เศรษฐกิจชุมชน, การกำหนดนโยบายสาธารณะ, การวิจัยทางการด้านการเรียนการสอน, การศึกษาทั่วไป |
ผศ.ดร. ภาสนันทน์ อัศวรักษ์ | สิ่งแวดล้อม การพัฒนาและความยั่งยืน (2556, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประเทศไทย) | สังคมวิทยา สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา |
รศ.ดร. สุรพงษ์ ชูเดช | การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ (2542, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, ประเทศไทย) | การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ |
ดร.ก้องกาญจน์ วชิรพนัง | ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (2556, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประเทศไทย) | องค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้,การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการทางสังคม, การพัฒนาภาวะผู้นำ |
ดร.ปภามญชุ์ ซีประเสริฐ | Environmental Engineering (2015, Kyoto University, Japan) | – Occupational health and safety – Environmental, Social, Health Impact Assessment – Corporate Sustainability Management and Risk Management |
ดร.อิทธิศักดิ์ จิราภรณ์วารี | การจัดการสิ่งแวดล้อม (2564, สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์, ประเทศไทย) | การประเมินผลประทบ การประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ การจัดการกากของเสีย |
อาจารย์
ชื่อ | คุณวุฒิการศึกษา | สาขาวิจัย |
ดร.สุรัตน์ เพชรนิล | การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์ (2560, มหาวิทยาลัยศิลปากร, ประเทศไทย) | จริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม,การออกแบบพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต,กิจกรรมการเรียนรู้ของผู้ใหญ่,ความรับผิดต่อสังคม |
ดร.เกศกัญญา ทัศสุวรรณ | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (2565, สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ประเทศไทย) | ไมโครพลาสติก ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบนิเวศป่าไม้ |
อาจารย์อณิษฐา จูฑะรสก | Technology and Innovation Management (2550, University of Sussex, UK) | STI Policy and Public Policy Technology and Innovation Management Impact Analysis and Economic Assessment |
อาจารย์พิเศษ
ชื่อ | คุณวุฒิการศึกษา | สาขาวิจัย |
อาจารย์สนธิ คชวัฒน์ | สภาวะแวดล้อม (2530, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประเทศไทย) | การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ/การควบคุมมลพิษ ขยะ น้ำเสีย อากาศ /การมีส่วนร่วมของประชาชน/การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม |
รศ.ดร. ปิยะพงษ์ จันทร์ใหม่มูล | Environmental Systems Engineering (2014, Kochi University of Technology, Japan) | การวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง,นโยบายสิ่งแวดล้อมและกระบวนการจัดการ,การจัดการภัยพิบัติและการสื่อสารความเสี่ยง,กระบวนการตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อม,การวางแผนภาคและเมือง |
คณะกรรมการหลักสูตร
- ดร.ปภามญชุ์ ซีประเสริฐ
- ผศ.ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ
- ผศ.ดร.ภาสนันทน์ อัศวรักษ์
- รศ.ดร.สุรพงษ์ ชูเดช
- ดร.ก้องกาญจน์ วชิรพนัง
- ดร.สุรัตน์ เพชรนิล
- ดร.อิทธิศักดิ์ จิราภรณ์วารี
- ประธานหลักสูตร
- คณะกรรมการหลักสูตร
- คณะกรรมการหลักสูตร
- คณะกรรมการหลักสูตร
- คณะกรรมการหลักสูตร
- คณะกรรมการหลักสูตร
- คณะกรรมการหลักสูตร
ค่าเล่าเรียน
อัตราค่าเล่าเรียน | ภาคการศึกษา | ปีการศึกษา |
1. ค่าบำรุงการศึกษา | 15,000.00 | 30,000.00 |
2. ค่าลงทะเบียน (2,600 บาท/หน่วยกิต) | 23,400.00 | 46,800.00 |
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร | 153,600.00 บาท/คน |
ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย : ภาคการศึกษา 38,400 บาท (กรณีลงทะเบียนจำนวน 9 หน่วยกิต)
** จำนวนค่าใช้จ่ายนี้ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น บัตรประกันอุบัติเหตุ บัตรประกันสุขภาพ **
M.A. in Environmental Social Science: Scholarship
ทุนการศึกษา
- ทุนการศึกษาเพชรพระจอมเกล้าด้านวิชาการดีเด่นและทุนการศึกษาเพชรพระจอมเกล้าสนับสนุนกลุ่มวิจัยระดับปริญญาโท คลิก
- ทุนการเรียนดี จำนวน 1 ทุน ประกอบด้วยค่าหน่วยกิตและค่าบำรุงการศึกษา ค่าครองชีพ เดือนละ 5,000 บาทตลอด 4 ภาคการศึกษา
- ทุนผู้ช่วยสอน ประมาณ 10 ทุน ๆ ละ 3,000 บาท
- ทุนผู้ช่วยนักวิจัย ประมาณ 2-3 ทุน ๆ ละ 5,000 บาท
- ทุนสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
คุณสมบัติผู้เรียน
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์หรือสาขาวิทยาศาสตร์ และมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หลังสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี โดยมีหนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าหน่วยงาน หรือ คุณสมบัติอื่น ๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และเป็นไปตามประกาศเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
สมัครเรียน
การรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศิลปศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม โครงการพิเศษ (ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์)
จำนวนรับ
ปีการศึกษาละ 12 คน
กำหนดการรับสมัคร : Click
- รับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 23 มิ.ย. 67
- เริ่มศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1/2567 (สิงหาคม 2567)
ติดตามข่าวสารของหลักสูตรได้ที่ Facebook ของหลักสูตร ได้ที่ :
Facebook : ป.โท สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม มจธ.
แบบฟอร์ม
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม :
1.แบบเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์/โครงการวิจัย
2.PROPOSAL REPORT
3.แบบเสนอชื่อกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
4.แบบ บ.3_6 หน่วยกิต
5.แบบ บ.3_12 หน่วยกิต
6.ใบโอนลิขสิทธิ์
รูปแบบเล่มวิทยานิพนธ์
1. คู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์
2. อ้างอิง
3. วิทยานิพนธ์ ESS
4. การจัดแบบฟอร์มสำหรับเล่มวิทยานิพนธ์ (Thesis Format)
5. การจัดแบบฟอร์มสำหรับเล่มวิทยานิพนธ์ (IS Format)
M.A. in Environmental Social Science: Contact Information
ติดต่อสอบถาม
ผศ.ดร. ภาสนันทน์ อัศวรักษ์ (อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร)
Tel: 02-470-8707 Fax: 02-428-3375
E-mail: passanan.ass@kmutt.ac.th , passanan99@yahoo.com
คุณพุธทา แก้วศรีใจ (นักบริการการศึกษา)
Tel: 02-470-8770 Fax: 02-428-3375
E-mail: puthta.kae@kmutt.ac.th
Mobile: 081-4023817
Line ID : Puthta