ศศ.ม. สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม

รายละเอียดหลักสูตร

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)          :  ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย)           :  ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)    :  Master of Arts (Environmental Social Sciences)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)      :  M.A. (Environmental Social Sciences)

วิชาเอก

ไม่มี

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

  1. แผน ก2 (วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต) 36 หน่วยกิต
  2. แผน ข (การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต) 36 หน่วยกิต

รูปแบบ

หลักสูตรระดับปริญญาโท (2 ปี) ได้แก่ แผน ก2 และ แผน ข

ภาษาที่ใช้

หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและมีการใช้เอกสารและตำราเรียนเป็นภาษาอังกฤษ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

(1) นักพัฒนาชุมชนในมิติสังคมและสิ่งแวดล้อม

(2) เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร ในโครงการภาคเอกชน ภาครัฐ

(3) เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility)

(4) ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

(5) นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ระบบ

ระบบการจัดการศึกษา ใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์

การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

ไม่มี

การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

ไม่มี

วันเวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

นอกวัน –  เวลาราชการ   ระหว่างวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 17.30 – 20.30 น.

และ/หรือ ระหว่างเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น.

ทั้งนี้ วันเวลาในการดำเนินการเรียนการสอนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ปฏิทินการศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 1 เริ่มเปิดสอนในเดือนสิงหาคม  – เดือนธันวาคม

ภาคการศึกษาที่ 2 เริ่มเปิดสอนในเดือนมกราคม  – เดือนพฤษภาคม

โปรแกรมโปรไฟล์

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์

ปรัชญา

มุ่งผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม ที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะทางสังคมศาสตร์ และประสบการณ์ภาคสนามในการจัดการสิ่งแวดล้อม และมีกระบวนทัศน์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

ความสำคัญ

การพัฒนาประเทศในระยะที่ผ่านมา  อาทิ การพัฒนาอุตสาหกรรม การทำเกษตรกรรม และการพัฒนาการท่องเที่ยว ได้ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้างทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก อาทิ การปนเปื้อนของมลพิษในสิ่งแวดล้อมชุมชนท้องถิ่น การเกิดมลภาวะในชุมชนเมือง การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก การสูญเสียพื้นที่ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศทางธรรมชาติ นำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ที่มีโครงการพัฒนา และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวม นอกจากนี้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในทุกระดับยังส่งผลต่อขีดความสามารถของการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตอีกด้วย ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น คือ การขาดการวางแผนพัฒนาโครงการอย่างรอบคอบ ขาดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงผลกระทบของการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติทางสังคม รวมถึงการขาดความตระหนักถึงความยั่งยืนในการพัฒนา

การบูรณาการศาสตร์ทางด้านสังคมศาสตร์ในกระบวนการวางแผนและตัดสินใจเพื่อพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยจะช่วยให้เกิดความเข้าใจถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น สามารถคาดการณ์ผลกระทบของการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดกระบวนทัศน์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมไปถึงเข้าใจบทบาทสำคัญของกลไกทางสังคมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

สายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์  ซึ่งเป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาทรัพยากรบุคคลภายในประเทศให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและมีความเชี่ยวชาญทางด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคมให้ยั่งยืนได้  ทางหลักสูตรได้จำแนกหน่วยการเรียนรู้ต่าง ๆ ออกเป็น 4 กลุ่มหลักเพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียน  4 ด้าน ดังนี้ 1) ศักยภาพในการคาดการณ์ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาโครงการต่าง ๆ มีวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม การประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ สังคมวิทยาความเสี่ยงและความไม่แน่นอน เป็นต้น 2) ศักยภาพในการพัฒนาโครงการความยั่งยืนหรือโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรต่าง ๆ มีวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กิจการเพื่อสังคม ธรรมาภิบาลในองค์กร เป็นต้น  3) ศักยภาพในการวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน สร้างความสมดุลระหว่างสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม มีวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น การวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนการวางแผนแม่บทชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น เป็นต้น และ 4) ศักยภาพในการทำวิจัยด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม มีวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นต้น

ดังนั้น หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อมจึงเป็นหลักสูตรที่ตอบสนองต่อบริบทการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนที่ให้ความสำคัญกับมิติทางสังคม   เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม   อีกทั้ง ยังเป็นหลักสูตรที่สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agents) ที่มีทั้งความรู้และทักษะในการทำงานในองค์กรต่าง ๆ เช่น นักพัฒนาชุมชน   เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม   ผู้ชำนาญการด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมการประเมินคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์และคุณค่าคุณภาพชีวิต ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองในการพัฒนาประเทศต่อไป

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้องค์ความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ประเมินผลกระทบและนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถวางแผนยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมและแผนการพัฒนาชุมชนและองค์กรอย่างยั่งยืน
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการทำวิจัยด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program Learning Outcome: PLO) 

PLO 1: สามารถกำหนดแนวทางการจัดการผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากโครงการพัฒนาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

1.1 สามารถวิเคราะห์บริบทสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการพัฒนาได้

1.2 สามารถประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎีทางด้านสังคมศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม

เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากโครงการพัฒนา

1.3 สามารถประเมินแนวทาง มาตรการ หรือทางเลือก เพื่อลดผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และ

สิ่งแวดล้อมที่เกิดจากโครงการพัฒนา โดยยึดหลักคุณธรรม และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ

PLO 2: สามารถกำหนดนโยบาย และแผนการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับชุมชนได้อย่างยั่งยืน    

2.1 สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือ กลไก มาตรการทางด้านสังคมในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชน

2.2 สามารถออกแบบนโยบายและจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับชุมชน

PLO 3: สามารถวางแผนกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรได้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม

3.1 สามารถวิเคราะห์ความต้องการของชุมชน สังคมเพื่อจัดทำโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

3.2 สามารถสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและ

สิ่งแวดล้อม

3.3 สามารถออกแบบโครงการ กิจกรรม และจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและ

สิ่งแวดล้อมได้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม

PLO 4: สามารถดำเนินการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์

4.1 สามารถออกแบบกระบวนการวิจัยและดำเนินการวิจัยที่สอดคล้องกับประเด็นทางสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

4.2 สามารถจัดทำรายงานการศึกษาหรือรายงานการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

4.3 สามารถนำเสนอแนวทางในการจัดการหรือแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

PLO 5: สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

5.1 สามารถสื่อสารและนำเสนอสารสนเทศต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสาธารณะได้ ภายใต้ความ

หลากหลายทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

5.2 สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความหลากหลายทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

โครงสร้างหลักสูตร

แผนการศึกษาหมวดวิชาจำนวนหน่วยกิต
แผน  ก 2 (วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต)ก.หมวดวิชาบังคับ21
ข.หมวดวิชาเลือก3
 ค.วิทยานิพนธ์12
 รวม36 หน่วยกิต
แผน ข (การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต)ก.หมวดวิชาบังคับ21
 ข.หมวดวิชาเลือก9
 ค.วิทยานิพนธ์6
 รวม36 หน่วยกิต

รายวิชา     หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

หมวดวิชารายวิชาจำนวนหน่วยกิต
หมวดวิชาภาษาอังกฤษ(ไม่นับหน่วยกิต)LNG 550 วิชาปรับพื้นภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (Remedial English Course for Post Graduate Students)2 (1-2-6) (S/U)
LNG 600 วิชาภาษาอังกฤษระหว่างการเรียนในหลักสูตรสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (In-sessional English Course for Post Graduate Students)3 (2-2-9) (S/U) 

หมายเหตุ : นักศึกษาต้องเรียนวิชา LNG 550 และ/หรือ LNG 600 และ/หรือได้รับการ ยกเว้นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับคะแนนการทดสอบและเงื่อนไขตามที่คณะศิลปศาสตร์กำหนด

ก. หมวดวิชาบังคับ   (21 หน่วยกิต)

หมวดวิชารายวิชาจำนวนหน่วยกิต
ก. หมวดวิชาบังคับ (21 หน่วยกิต)ESS 601 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน (Environmental Sciences and Sustainability)3(3-0-9
ESS 621 การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social and Environmental Impact Assessments)3(3-0-9
ESS 622 การวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน (Community Environmental Planning and Management)3(3-0-9
ESS 631 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Social Science Research Methodology)3(3-0-9
ESS 641 เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Economics)3(3-0-9
ESS 651 ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social and Environmental Responsibility)3(3-0-9
ESS 681 การศึกษาภาคสนาม (Field Study)1(0-2-3)
ESS 691 สัมมนา 1 (Seminar I)1(0-2-3)
ESS 692 สัมมนา 2 (Seminar II)1(0-2-3)
  • หมวดวิชาเลือก แบ่งเป็น 4 กลุ่มวิชา                                             3/9 หน่วยกิต
  • สำหรับนักศึกษาแผน ก 2 นักศึกษาต้องเลือกเรียนวิชาเลือก 1 วิชา จากวิชาเลือกในกลุ่ม ข.1- ข.4
  • สำหรับนักศึกษาแผน ข นักศึกษาต้องเลือกเรียนวิชาเลือกให้ครบ 3 วิชา จากวิชาเลือกในกลุ่ม ข.1- ข.4 (ซ้ำกลุ่มได้)
หมวดวิชารายวิชาจำนวนหน่วยกิต
ข.1 กลุ่มวิชาด้านการจัดการผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมESS 623 สังคมวิทยาความเสี่ยงและความไม่แน่นอน (Sociology of Risk and Uncertainty)3(3-0-9
ESS 624 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพระดับชุมชน (Community Health Impact Assessment)3(3-0-9
ESS 625 การสื่อสารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Risk Communication)3(3-0-9
ESS 653 การประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ (Strategic Environmental Assessment)3(3-0-9
ข.2 กลุ่มวิชาด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมESS 654 การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนขององค์กร (Corporate Sustainability Management)3(3-0-9
ESS 655 กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)3(3-0-9
ESS 656 ธรรมาภิบาลในองค์กร (Corporate Governance)3(3-0-9
ESS 657 ประเด็นความยั่งยืนระดับสากลและความรับผิดชอบขององค์กร (Global Sustainability Issues and Corporate Responsibility)3(3-0-9
ข.3 กลุ่มวิชาด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนESS 626 นิเวศวิทยาการเมือง (Political Ecology)3(3-0-9
ESS 627 การวางแผนแม่บทชุมชน (Community Master Plan)3(3-0-9
ESS 628 สังคมวิทยาสิ่งแวดล้อม (Environmental Sociology)3(3-0-9
ESS 629 การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วม (Participatory Process Development)3(3-0-9
ESS 642 การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local Economic Development)3(3-0-9
ข.4 กลุ่มวิชาอื่น ๆESS 632 สถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Statistics for Social Science Research)3(3-0-9
ESS 643 เศรษฐศาสตร์พลังงานและนโยบาย (Energy Economics and Policy)3(3-0-9
ESS 652 นวัตกรรมการจัดการความขัดแย้ง (Innovative Management of Conflict)3(3-0-9
ESS 671 จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม (Environmental Psychology)3(3-0-9
ESS 695 หัวข้อพิเศษ 1 (Special Topic I)3(3-0-9
ESS 696 หัวข้อพิเศษ 1 (Special Topic II)3(3-0-9
  • วิทยานิพนธ์ /การค้นคว้าอิสระ 6 /12 หน่วยกิต
  • หมวดวิชารายวิชาจำนวนหน่วยกิตค. วิทยานิพนธ์ /การค้นคว้าอิสระESS 693 การค้นคว้าอิสระ (Independent Study)6 หน่วยกิต(6/12 หน่วยกิต)ESS 694 วิทยานิพนธ์ (Thesis)12 หน่วยกิต

แผนการสอน

แผน ก 2  (วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต)

ชั้นปี/ภาคการศึกษารายวิชาจำนวนหน่วยกิต
ปี 1 ภาคการศึกษาที่ 1ESS 601 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน(Environmental Sciences and Sustainability)3(3-0-9)
 ESS 631 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Science Research Methodology)3(3-0-9)
 ESS 641 เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม(Environmental Economics)3(3-0-9)
 รวม    9(9-0-27) ชั่วโมง /สัปดาห์ = 36
ปี 1 ภาคการศึกษาที่ 2ESS 621 การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม(Social and Environmental Impact Assessments)3(3-0-9)
 ESS 622 การวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน(Community Environmental Planning and Management)3(3-0-9)
 ESS 651 ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม(Corporate Social and Environmental Responsibility)3(3-0-9)
 ESS 691 สัมมนา 1 (Seminar I)1(0-2-3)
 รวม   10(9-2-30)ชั่วโมง /สัปดาห์ = 41
ปี 2 ภาคการศึกษาที่ 1ESS 681 การศึกษาภาคสนาม (Field Study)1(0-2-3)
 ESS 691 สัมมนา 2 (Seminar II)1(0-2-3)
 XXXXXX วิชาเลือก (Elective)3(3-0-9)
 ESS 694 วิทยานิพนธ์ (Thesis)3(0-6-12)
 รวม   8(3-10-27)ชั่วโมง /สัปดาห์ = 40
ปี 2 ภาคการศึกษาที่ 2ESS 694 วิทยานิพนธ์ (Thesis)9(0-18-36)
 รวม   9(0-18-36)ชั่วโมง /สัปดาห์ = 54

แผน ข  (การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต)

ชั้นปี/ภาคการศึกษารายวิชาจำนวนหน่วยกิต
ปี 1 ภาคการศึกษาที่ 1ESS 601 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน(Environmental Sciences and Sustainability)3(3-0-9)
 ESS 631 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Science Research Methodology)3(3-0-9)
 ESS 641 เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม(Environmental Economics)3(3-0-9)
 รวม    9(9-0-27) ชั่วโมง /สัปดาห์ = 36
ปี 1 ภาคการศึกษาที่ 2ESS 621 การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม(Social and Environmental Impact Assessments)3(3-0-9)
 ESS 622 การวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน(Community Environmental Planning and Management)3(3-0-9)
 ESS 651 ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม(Corporate Social and Environmental Responsibility)3(3-0-9)
 ESS 691 สัมมนา 1 (Seminar I)1(0-2-3)
 รวม   10(9-2-30)ชั่วโมง /สัปดาห์ = 41
ปี 2 ภาคการศึกษาที่ 1ESS 681 การศึกษาภาคสนาม (Field Study)1(0-2-3)
 ESS 691 สัมมนา 2 (Seminar II)1(0-2-3)
 XXXXXX วิชาเลือก (Elective)3(3-0-9)
 XXXXXX วิชาเลือก (Elective)3(3-0-9)
 รวม   8(6-4-24)ชั่วโมง /สัปดาห์ = 34
ปี 2 ภาคการศึกษาที่ 2XXXXXX วิชาเลือก (Elective)3(3-0-9)
ESS 693 การค้นคว้าอิสระ (Independent Study)6(0-12-24)
 รวม   9(3-12-33)ชั่วโมง /สัปดาห์ = 48

คำอธิบายรายวิชา

LNG 550วิชาปรับพื้นภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
Remedial English Course for Post Graduate Students
2 (1-2-6) (S/U)
LNG 600วิชาภาษาอังกฤษระหว่างการเรียนในหลักสูตรสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา  
In-sessional English Course for Post Graduate Students
3 (2-2-9) (S/U)
ESS 601วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน                 
Environmental Sciences and Sustainability
3 (3-0-9)
ESS 621การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม     Social and Environmental Impact Assessments3 (3-0-9)
ESS 622การวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน
Community Environmental Planning and Management
3 (3-0-9) 
ESS 623สังคมวิทยาความเสี่ยงและความไม่แน่นอน
Sociology of Risk and Uncertainty
3 (3-0-9) 
ESS 624การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพระดับชุมชน
Community Health Impact Assessment
3 (3-0-9) 
ESS 625การสื่อสารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม
Environmental Risk Communication
3 (3-0-9) 
ESS 626นิเวศวิทยาการเมือง
Political Ecology
3 (3-0-9)
ESS 627การวางแผนแม่บทชุมชน
Community Master Plan
3 (3-0-9)
ESS 628สังคมวิทยาสิ่งแวดล้อม
Environmental Sociology
3 (3-0-9) 
ESS 629การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วม
Participatory Process Development
3 (3-0-9) 
ESS 631ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ Social Science
Research Methodology
3 (3-0-9) 
ESS 632สถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์
Statistics for Social Science Research
3 (3-0-9) 
ESS 641เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม
Environmental Economics
3 (3-0-9) 
ESS 642การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น
Local Economic Development
3 (3-0-9) 
ESS 643เศรษฐศาสตร์พลังงานและนโยบาย
Energy Economics and Policy
3 (3-0-9) 
ESS 651ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
Corporate Social and Environmental Responsibility
3 (3-0-9)
ESS 652นวัตกรรมการจัดการความขัดแย้ง
Innovative Management of Conflict
3 (3-0-9) 
ESS 653การประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์
Strategic Environmental Assessment
3 (3-0-9)
ESS 654การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนขององค์กร
Corporate Sustainability Management
3 (3-0-9)
ESS 655กิจการเพื่อสังคม
Social Enterprise
3 (3-0-9)
ESS 656ธรรมาภิบาลในองค์กร
Corporate Governance   
3 (3-0-9)
ESS 657ประเด็นความยั่งยืนระดับสากลและความรับผิดชอบขององค์กร
Global Sustainability Issues and Corporate Responsibility
3 (3-0-9)
ESS 671จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม
Environmental Psychology
3 (3-0-9) 
ESS 681การศึกษาภาคสนาม
Field Study
1 (0-2-3)
ESS 691สัมมนา 1
Seminar I
1 (0-2-3)
ESS 692สัมมนา 2
Seminar II
1 (0-2-3)
ESS 693การค้นคว้าอิสระ                                                            Independent Study6 หน่วยกิต
ESS 694วิทยานิพนธ์
Thesis
12 หน่วยกิต
ESS 695หัวข้อพิเศษ 1
Special Topic I
3 (3-0-9)
ESS 696หัวข้อพิเศษ 2
Special Topic II
3 (3-0-9)

อาจารย์ประจำหลักสูตร

ชื่อคุณวุฒิการศึกษาสาขาวิจัย
ผศ.ดร.ศศิธร  สุวรรณเทพการบริหารการพัฒนา (2546, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ประเทศไทย)เศรษฐกิจชุมชน, การกำหนดนโยบายสาธารณะ, การวิจัยทางการด้านการเรียนการสอน, การศึกษาทั่วไป
ผศ.ดร.
ภาสนันทน์ 
อัศวรักษ์
สิ่งแวดล้อม การพัฒนาและความยั่งยืน (2556, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
ประเทศไทย)
สังคมวิทยา สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
รศ.ดร.
สุรพงษ์  ชูเดช
การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ (2542, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, ประเทศไทย)การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์
ดร.ก้องกาญจน์  วชิรพนังธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (2556, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประเทศไทย)องค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้,การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการทางสังคม, การพัฒนาภาวะผู้นำ
ดร.ปภามญชุ์
ซีประเสริฐ
Environmental Engineering (2015, Kyoto University, Japan)– Occupational health and safety
– Environmental, Social, Health Impact Assessment
– Corporate Sustainability Management and Risk Management
ดร.อิทธิศักดิ์
จิราภรณ์วารี
การจัดการสิ่งแวดล้อม (2564, สถาบันบัณฑิตพัฒน
บริหารศาสตร์, ประเทศไทย)
การประเมินผลประทบ การประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์
การจัดการกากของเสีย

อาจารย์

ชื่อคุณวุฒิการศึกษาสาขาวิจัย
ดร.สุรัตน์
เพชรนิล
การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์ (2560, มหาวิทยาลัยศิลปากร, ประเทศไทย)จริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม,การออกแบบพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต,กิจกรรมการเรียนรู้ของผู้ใหญ่,ความรับผิดต่อสังคม
ดร.เกศกัญญา ทัศสุวรรณ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (2565, สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ประเทศไทย)ไมโครพลาสติก ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบนิเวศป่าไม้
อาจารย์อณิษฐา จูฑะรสกTechnology and Innovation Management (2550, University of Sussex, UK)STI Policy and Public Policy
Technology and Innovation Management
Impact Analysis and Economic Assessment

อาจารย์พิเศษ

ชื่อคุณวุฒิการศึกษาสาขาวิจัย
อาจารย์สนธิ 
คชวัฒน์
สภาวะแวดล้อม
(2530, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประเทศไทย)
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ/การควบคุมมลพิษ ขยะ น้ำเสีย อากาศ /การมีส่วนร่วมของประชาชน/การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
รศ.ดร.
ปิยะพงษ์ จันทร์ใหม่มูล
Environmental Systems Engineering (2014, Kochi University of Technology, Japan)การวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง,นโยบายสิ่งแวดล้อมและกระบวนการจัดการ,การจัดการภัยพิบัติและการสื่อสารความเสี่ยง,กระบวนการตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อม,การวางแผนภาคและเมือง

คณะกรรมการหลักสูตร

  1. ดร.ปภามญชุ์ ซีประเสริฐ
  2. ผศ.ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ 
  3. ผศ.ดร.ภาสนันทน์ อัศวรักษ์ 
  4. รศ.ดร.สุรพงษ์ ชูเดช 
  5. ดร.ก้องกาญจน์ วชิรพนัง 
  6. ดร.สุรัตน์ เพชรนิล 
  7. ดร.อิทธิศักดิ์ จิราภรณ์วารี
  • ประธานหลักสูตร
  • คณะกรรมการหลักสูตร
  • คณะกรรมการหลักสูตร
  • คณะกรรมการหลักสูตร
  • คณะกรรมการหลักสูตร
  • คณะกรรมการหลักสูตร
  • คณะกรรมการหลักสูตร

ค่าเล่าเรียน

อัตราค่าเล่าเรียนภาคการศึกษาปีการศึกษา
1.    ค่าบำรุงการศึกษา15,000.0030,000.00
2.    ค่าลงทะเบียน (2,600 บาท/หน่วยกิต)23,400.0046,800.00
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร153,600.00 บาท/คน

ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย : ภาคการศึกษา  38,400 บาท (กรณีลงทะเบียนจำนวน 9 หน่วยกิต)

** จำนวนค่าใช้จ่ายนี้ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น บัตรประกันอุบัติเหตุ บัตรประกันสุขภาพ **

M.A. in Environmental Social Science: Scholarship

ทุนการศึกษา

  1. ทุนการศึกษาเพชรพระจอมเกล้าด้านวิชาการดีเด่นและทุนการศึกษาเพชรพระจอมเกล้าสนับสนุนกลุ่มวิจัยระดับปริญญาโท คลิก
  2. ทุนการเรียนดี จำนวน 1 ทุน ประกอบด้วยค่าหน่วยกิตและค่าบำรุงการศึกษา ค่าครองชีพ เดือนละ 5,000 บาทตลอด 4 ภาคการศึกษา
  3. ทุนผู้ช่วยสอน ประมาณ 10 ทุน ๆ ละ 3,000 บาท
  4. ทุนผู้ช่วยนักวิจัย ประมาณ 2-3 ทุน ๆ ละ 5,000 บาท
  5. ทุนสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

คุณสมบัติผู้เรียน

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์  โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ
  2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์หรือสาขาวิทยาศาสตร์ และมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หลังสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี โดยมีหนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าหน่วยงาน หรือ คุณสมบัติอื่น ๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และเป็นไปตามประกาศเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย

สมัครเรียน

การรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศิลปศาสตร์ 
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม โครงการพิเศษ (ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์)

จำนวนรับ

ปีการศึกษาละ 12 คน

กำหนดการรับสมัคร : Click

  • รับสมัครตั้งแต่วันนี้  – 23 มิ.ย. 67
  • เริ่มศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1/2567 (สิงหาคม 2567)

ติดตามข่าวสารของหลักสูตรได้ที่ Facebook ของหลักสูตร ได้ที่ :

Facebook : ป.โท สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม มจธ.

แบบฟอร์ม

ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม :

1.แบบเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์/โครงการวิจัย

2.PROPOSAL  REPORT

3.แบบเสนอชื่อกรรมการสอบวิทยานิพนธ์

4.แบบ บ.3_6 หน่วยกิต

5.แบบ บ.3_12 หน่วยกิต

6.ใบโอนลิขสิทธิ์

รูปแบบเล่มวิทยานิพนธ์

1. คู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์

2. อ้างอิง

3. วิทยานิพนธ์ ESS

4. การจัดแบบฟอร์มสำหรับเล่มวิทยานิพนธ์ (Thesis Format)

5. การจัดแบบฟอร์มสำหรับเล่มวิทยานิพนธ์ (IS Format)

M.A. in Environmental Social Science: Contact Information

ติดต่อสอบถาม

ผศ.ดร. ภาสนันทน์ อัศวรักษ์ (อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร)

Tel: 02-470-8707 Fax: 02-428-3375

E-mail: passanan.ass@kmutt.ac.th , passanan99@yahoo.com

คุณพุธทา  แก้วศรีใจ (นักบริการการศึกษา)

Tel: 02-470-8770 Fax: 02-428-3375

E-mail: puthta.kae@kmutt.ac.th

Mobile: 081-4023817

Line ID : Puthta