Class size matters, but how big is too big?
Richard Watson Todd
Class size is a worry in education. In our dreams of an ideal world, we teachers might all want to have, say, just twelve students in a class – small enough for every student to get individual attention but big enough for students to interact with each other. In reality, practical constraints and costs mean that classes of 40, 60 or even 100 students are the norm in most situations. Larger class sizes have detrimental effects on student learning, but how big does a class have to be before these effects become noticeable and student learning is diminished?
Surprisingly, despite the obvious importance of this question, there has been no previous research looking at the adverse impacts of class size on learning in foreign language classrooms, such as English language classes at Thai universities. Most previous research has investigated teachers’ beliefs about class sizes, and this research has identified certain problems with larger classes that could diminish student learning. Larger classes often have discipline problems, teachers find it difficult to develop rapport with students, students have fewer opportunities to speak, they receive less attention from teachers, and feedback on student work is reduced. All of these problems could adversely affect student learning, but it’s unclear how many students there need to be in a class for the effects of these problems to become noticeable.
To find this out, I collected the grades of every student who had attended the four fundamental English courses for engineering and science students at KMUTT over four years. This gave me 984 classes, the size of which varied from 10 to 103 students with an average of 36. While grades don’t truly represent learning, they provide us with a practicable measure that applies across large numbers of students.
To see whether class size had an effect, we can look at the relationship between the size of the class in which a student studies and the grade received. For the 30,000-odd student grades, there was a negative correlation between grade and class size (r = -0.126; p < 0.001), meaning that generally the larger the class, the worse the grade. To check that the grade differences really were due to class size (rather than, say, student major), I looked at the grades of those students who had studied in very differently sized classes. For instance, one student got a B+ for one course in a class of 31 students; for the next course his class had 83 students and he got a C; then he took another course with 75 students and got a C+. There were 289 students who studied in classes of very different sizes for different courses, and the negative relationship between class size and learning was even more noticeable for these students (r = -0.222; p < 0.001), confirming that class size has a negative impact on grades.
This negative relationship between class size and grades is something we expected, but are there any threshold levels of class size beyond which learning noticeably diminishes? To find out, I looked at the average grade of students for different class sizes. Where there are sudden drops in grades as class size increases, we can identify threshold levels beyond which students learn less. In classes of 16-20 students, the average grade as a number was 2.89; for classes of 21-25 students, 2.88; and for classes of 26-30 students 2.73. Here, the increase from 16-20 to 21-25 students per class had almost no effect on the grade, but the next increase to 26-30 saw a noticeable drop. For 31-35 and 36-40, the average grades were 2.77 and 2.71, suggesting that there is a plateau of class size similar to 26-30. When class sizes go over 46, however, the average grade plummets to 2.13. We can therefore identify two important threshold levels. Up to 25 students, grades don’t seem to be much affected by class size; above 25 students, grades are noticeably lower. There is a fair amount of stability in grades for classes of 26-45 students, and above that grades drop massively.
These results have important implications for university administrators, and might also be applicable at other educational levels. Ideally, English language classes at universities should be kept to a maximum of 25 students. For practical reasons, this ideal might not always be attainable. In contexts where this ideal is impractical, whatever happens, no classes larger than 45 students should be arranged. For the benefits of student learning, a regulation setting the maximum possible class size for English language courses at 45 students needs to be issued.
This article is based on: Watson Todd, R. (2012) The effects of class size on English learning at a Thai university. ELT Research Journal vol. 1 no. 1 pp. 80-88.
เรื่องของขนาดชั้นเรียน …ใหญ่แค่ไหนคือใหญ่เกิน
Richard Watson Todd
ในด้านการศึกษา ขนาดชั้นเรียนเป็นเรื่องน่าห่วง พวกเราในฐานะครูคงจะคิดฝันว่าอยากจะสอนห้องเรียนที่มีนักเรียนสักแค่ 12 คน ซึ่งเป็นขนาดเล็กพอที่ทุกคนในห้องจะได้รับความเอาใจใส่ แต่ก็ใหญ่พอที่จะช่วยให้ทุกคนได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ แต่ในความเป็นจริง ข้อจำกัดในทางปฏิบัติและค่าใช้จ่ายทำให้การมีนักเรียนห้องละ 40, 60 หรือแม้แต่ 100 คน คล้ายกับเป็นบรรทัดฐานไปแล้วก็ว่าได้ ห้องเรียนที่มีนักเรียนจำนวนมากส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ คำถามที่เกิดขึ้นคือขนาดชั้นเรียนใหญ่แค่ไหนที่จะมีผลกระทบให้การเรียนรู้แย่ลงอย่างเห็นได้ชัด
ที่น่าแปลกใจก็คือ ทั้งๆที่คำถามนี้สำคัญอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ที่ผ่านมา ไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาผลเสียของขนาดชั้นเรียนต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียนภาษาต่างประเทศ เช่น ชั้นเรียนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเลย งานวิจัยส่วนมากจะสนใจความเชื่อและความคิดเห็นของครูต่อขนาดชั้นเรียน และระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนขนาดใหญ่ซึ่งส่งผลให้การเรียนรู้ลดลงได้ ชั้นเรียนใหญ่มักมีปัญหาด้านระเบียบวินัย อีกทั้งครูยังพบว่าเป็นการยากที่จะสร้างสัมพันธ์กับนักเรียน ส่วนนักเรียนก็ได้รับโอกาสในการพูดแสดงความคิดเห็นลดลง ได้รับความเอาใจใส่จากครูลดลง และได้รับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานของตัวเองจากครูลดลง แน่นอนว่าปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบด้านลบต่อการเรียนรู้ แต่เราก็ไม่รู้แน่ชัดว่าจำนวนนักเรียนเท่าไรที่จะทำให้ผลกระทบนี้สะท้อนออกมาจนเห็นได้ชัดเจน
เพื่อค้นหาคำตอบเรื่องนี้ เราสามารถใช้ข้อมูลเกรดของนักศึกษาทุกคนที่เคยเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานสำหรับนักศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ทั้ง 4 วิชา ตลอด 4 ปี ซึ่งมีชั้นเรียนรวมทั้งสิ้น 984 ชั้นเรียน มีจำนวนนักศึกษาแตกต่างกันตั้งแต่ 10 ถึง 103 คน เฉลี่ย 36 คนต่อห้อง แม้ว่าเกรดจะไม่ได้สะท้อนระดับการเรียนรู้อย่างแท้จริง แต่ก็เป็นข้อมูลการวัดที่เรานำมาใช้ได้เมื่อศึกษากับนักศึกษาจำนวนมาก
เพื่อดูว่าขนาดชั้นเรียนมีผลหรือไม่ เราสามารถดูได้จากความสัมพันธ์ระหว่างขนาดชั้นเรียนที่นักศึกษาเรียนและเกรดที่ได้ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดชั้นเรียนกับเกรดของนักศึกษาจำนวนสามหมื่นเศษพบว่าขนาดชั้นเรียนแปรผกผันกับเกรด (r = -0.126; p < 0.001) นั่นหมายความว่ายิ่งขนาดชั้นเรียนใหญ่ เกรดของนักศึกษาจะต่ำลงอย่างสัมพันธ์กัน และเพื่อตรวจสอบว่าความแตกต่างของเกรดเป็นผลจากขนาดชั้นเรียนจริงๆ (มากกว่าที่จะเป็นเพราะสาเหตุอื่น เช่น วิชาเอกของนักศึกษา) เราสามารถศึกษาได้จากเกรดของนักศึกษาที่เคยเรียนในชั้นเรียนที่มีขนาดต่างๆกัน ตัวอย่างเช่น นักศึกษาคนหนึ่งได้เกรด B+ ในวิชาที่เรียนในห้องเรียน 31 คน แต่ในห้องที่มี 83 คน นักศึกษาคนนี้ได้เกรด C หลังจากนั้นเขาเรียนในห้องเรียน 75 คน และได้ C+ จากการศึกษากับนักศึกษากลุ่มที่ได้เรียนในชั้นเรียนที่มีจำนวนนักศึกษาแตกต่างกันนี้ ยังคงให้ผลความสัมพันธ์แบบแปรผกผันกันและยังเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นอีกด้วย (r = -0.222; p < 0.001) ซึ่งช่วยยืนยันว่าขนาดชั้นเรียนมีผลในทางลบกับเกรดจริงๆ
ความสัมพันธ์แบบผกผันนี้เป็นสิ่งที่เราอาจจะคาดการณ์ไว้อยู่แล้ว แต่คำถามที่น่าสนใจคือมีจำนวนนักศึกษาในชั้นเรียนจำนวนใดจำนวนหนึ่งหรือไม่ที่เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้การเรียนรู้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพื่อค้นหาคำตอบนี้ เราสามารถศึกษาได้จากค่าเฉลี่ยเกรดของนักศึกษาจากชั้นเรียนขนาดแตกต่างกัน กล่าวคือในจุดที่เกรดต่ำลงอย่างชัดเจนเมื่อขนาดชั้นเรียนใหญ่ขึ้น เราจะสามารถระบุจุดตัดของขนาดชั้นเรียนที่จะบ่งชี้ว่าถ้ามีจำนวนนักศึกษามากกว่านี้แล้วนักศึกษาจะได้เรียนรู้ลดลง ในชั้นเรียนที่มีนักศึกษา 16-20 คน ค่าเฉลี่ยของเกรดคือ 2.89 ชั้นเรียน 21-25 คน ค่าเฉลี่ยของเกรดคือ 2.88 และชั้นเรียน 26-30 คน ค่าเฉลี่ยเกรดคือ 2.73 จากข้อมูลนี้ ขนาดชั้นเรียนที่ใหญ่ขึ้นจาก 16-20 คน เป็น 21-25 คนต่อห้อง แทบจะไม่มีผลกระทบต่อเกรดเลย แต่เมื่อเพิ่มเป็น 26-30 คน จะเราเห็นว่าเกรดลดลงอย่างชัดเจน สำหรับชั้นเรียน 31-35 คน และ 36-40 คน ค่าเฉลี่ยของเกรดคือ 2.77 และ 2.71 ซึ่งแสดงเกรดที่ค่อนข้างคงที่เมื่อเทียบกับชั้นเรียน 26-30 คน แต่เมื่อขนาดชั้นเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่า 46 คน พบค่าเฉลี่ยเกรดลดดิ่งลงเป็น 2.13 เราจะเห็นว่ามีขนาดชั้นเรียนที่เป็นจุดเปลี่ยนอยู่ 2 จุด คือขนาดชั้นเรียนไม่ค่อยมีผลกระทบกับเกรดในชั้นเรียนที่มีนักศึกษาไม่เกิน 25 คน แต่เมื่อมีนักศึกษามากกว่า 25 คน เกรดจะลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด และเกรดจะค่อนข้างคงที่ในชั้นเรียนขนาด 26-45 คน แต่จะต่ำลงอย่างมากเมื่อขนาดชั้นเรียนใหญ่กว่านั้น
ผลศึกษานี้มีประโยชน์ต่อการพิจารณาของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารในมหาวิทยาลัย และอาจรวมถึงการศึกษาในระดับอื่นด้วย โดยหลักการแล้วชั้นเรียนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยควรจะมีนักศึกษาไม่เกิน 25 คน ซึ่งในทางปฏิบัติ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไปได้เสมอไป ในบริบทที่ใช้หลักการนี้ไม่ได้จริงๆ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ในชั้นเรียนหนึ่งไม่ควรมีนักศึกษามากกว่า 45 คน และเพื่อประโยชน์ด้านการเรียนรู้ของนักศึกษา การตั้งข้อกำหนดเรื่องขนาดชั้นเรียนที่ใหญ่ที่สุดที่เป็นไปได้ของวิชาภาษาอังกฤษให้อยู่ที่ 45 คนเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ
บทความนี้อิงข้อมูลจาก: Watson Todd, R. (2012) The effects of class size on English learning at a Thai university. ELT Research Journal vol. 1 no. 1 pp. 80-88.