PhD in Applied Linguistics : Curriculum

Course Description

      1. Compulsory courses

      2. Elective courses

      3. Thesis


2. Elective courses

LNG 711   การวิจัยเกี่ยวกับสัมพันธสารวิเคราะห์                                                                      3(3-0-9)

           (Research in Discourse Analysis)

    Pre-requisite : None

แนวทางการวิเคราะห์สัมพันธสาร  การวิเคราะห์โครงสร้างสาร  ภาษาศาสตร์ข้อความ  การวิเคราะห์ประเภทผลงาน การวิเคราะห์การสนทนา  วิธีตีความสัมพันธสาร  การวิเคราะห์สัมพันธสารทางสังคมวิทยา สัมพันธสารวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ สัญญานศาสตร์ ความเปรียบต่างทางวาทะศิลป์ การวิเคราะห์โดยใช้คลังข้อความและการใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราห์สัมพันธสาร

Approaches to analysing discourse. Exchange structure analysis. Text linguistics. Genre analysis. Conversation analysis; interpretationist approaches to discourse. Sociological discourse analysis. Critical discourse analysis. Semiotics. Contrastive rhetoric. Corpus-based and computational approaches to discourse.

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา

1)  นักศึกษาสามารถอธิบายแนวคิด ทฤษฎี และปรัชญาการใช้ภาษาได้

2)  นักศึกษามีความรู้และเข้าใจกระบวนการหรือวิธีการวิเคราะห์สัมพันธสารรูปแบบต่างๆ

3)  นักศึกษาสามารถใช้ทฤษฎีสัมพันธสารในการวิเคราะห์ภาษาได้

4)  นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีสัมพันธสาร ในการอธิบายการใช้ภาษาหรือการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาได้

     

LNG 712     ภาษาศาสตร์เชิงสังคม                                                                                3(3-0-9)

              (Sociolinguistics)

      Pre-requisite : None

เนื้อหาทางด้านภาษาศาสตร์สังคม ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมความหลากหลายทางภาษาศาสตร์ที่มีผลกระทบต่อการใช้ภาษา เนื้อหาครอบคลุมภาษาศาสตร์สังคมเชิงปฏิสัมพันธ์ บทบาทของภาษาต่อการกำหนดเอกลักษณ์ของบุคคล และ ชุมชน ความหลากหลายทางการใช้ภาษาซึ่งสัมพันธ์กับเอกลักษณ์ทางสังคม ชนชั้น อายุ และ เพศ ความหลากหลายของการใช้ภาษาในการทำงานและการใช้ภาษาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำเนียงและภาษาถิ่น ความหลากหลายในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม และวัจนปฏิบัติศาสตร์ โครงสร้างด้านสัมพันธสารวัจนกรรม และการเปลี่ยนผลัด การเปลี่ยนแปลงของภาษาซึ่งรวมถึงการเกิดภาษาพิดจินและการรับวัฒนธรรมอื่น ภาษาระหว่างประเทศ และนานาภาษาอังกฤษโลกภาษาศาสตร์สังคมประยุกต์รวมถึงนโยบายด้านภาษาและการศึกษาของประเทศไทย งานวิจัยทางด้านภาษาศาสตร์สังคม การประเมินผลเน้นการวิจัยทางภาษาศาสตร์สังคม

An overview of sociolinguistics. Interrelating social and linguistic variables affecting language in use. Interactive sociolinguistics. Social roles of language in determining identities among individuals and communities. Variation in language use related to social identity, class, age and gender.  Variation in language use in terms of corporate and electronic discourse. Accents and dialects. Variation in cross-cultural communication and pragmatics. Discourse patterns, speech act realization and turn-taking. Language change, including pidginization and acculturation. English as an international language and ‘world Englishes’. Applied sociolinguistics, language policy and language education policy with particular reference to Thailand. Issues in conducting research in sociolinguistics.

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา

1)  นักศึกษาสามารถอธิบายแนวคิด ทฤษฎี และความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับสังคม และความหลากหลายทางภาษาศาสตร์ที่มีผลกระทบต่อการใช้ภาษา

2)  นักศึกษามีความรู้และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางภาษา สถานภาพของภาษาและนโยบายด้านภาษาในบริบทต่างๆ ได้

3)  นักศึกษาสามารถใช้ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์เชิงสังคมในการวิเคราะห์ภาษาได้

4)  นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีภาษาศาสตร์เชิงสังคมในการอธิบายปรากฏการณ์ทางภาษาในบริบทต่างๆ ได้

5)  นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และวิพากษ์งานวิจัยทางด้านภาษาศาสตร์เชิงสังคมได้

 

LNG 713   กระบวนการเรียนภาษา                                                                                       3(3-0-9)

            (Processes of Language Learning)

    Pre-requisite : None

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา การเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สอง กระบวนการเรียนรู้คำศัพท์ กระบวนการการอ่านและการฟัง กระบวนการการเขียนและการพูดกระบวนการการเรียนรู้แบบไม่ปรากฏชัดแจ้งและแบบปรากฏชัดแจ้ง การเรียนรู้โดยบังเอิญและโดยเจตนา ความจำและการเรียนรู้ภาษา ความสนใจและการใช้ภาษาได้โดยอัตโนมัติ ประเด็นปัจจุบันทางด้านกระบวนการการเรียนรู้ภาษา การวิจัยทางด้านกระบวนการการเรียนรู้ภาษา

Introduction to psycholinguistics. First and second language acquisition. Lexical processing. Reading and listening processes. Writing and speaking processes. Implicit and explicit learning. Incidental and Intentional learning. Memory and language learning. Attention and automaticity. Current issues in language learning processes. Research in language learning processes.

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา

1)  นักศึกษาสามารถอธิบายทฤษฎี และกระบวนการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองได้

2)  นักศึกษามีความรู้และเข้าใจปัจจัยและที่ส่งผลต่อกระบวนการการเรียนรู้ภาษา

3)  นักศึกษาสามารถใช้ทฤษฎีทางการเรียนรู้ในการวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ภาษา และวางแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาได้

4)  นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และวิพากษ์งานวิจัยด้านกระบวนการการเรียนรู้ภาษาได้

5)  นักศึกษาสามารถสร้างรูปแบบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนและรับรู้ภาษา สามารถเลือกเครื่องมือในการวิจัยและการเก็บข้อมูลได้

 

LNG 714   ทฤษฎีและการวิจัยการอ่าน                                                                                    3(3-0-9)

            (Reading Theories and Research)

    Pre-requisite : None

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน  แบบจำลองการอ่าน ทักษะการอ่าน   กลยุทธ์การอ่าน ลักษณะของผู้อ่านที่มีและไม่มีประสิทธิภาพ ทฤษฎีสกีมมา  คำศัพท์   ประเภทและระดับความยากง่ายของบทความการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการอ่านในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ    การอ่านในภาษาที่หนึ่งและ ภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศ  ระเบียบวิธีการวิจัยการอ่าน

Theories and research into reading: reading models, reading skills and strategies, characteristics of ‘good’ and ‘poor’ readers, schema theories, vocabulary and text readability. Applications of theories in EFL classrooms. First and second or foreign language reading. Methodologies for conducting reading research.

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา

1)  นักศึกษาสามารถอธิบายทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวกับการอ่านได้

2)  นักศึกษามีความรู้และเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ

3)  นักศึกษาสามารถใช้ทฤษฎีทางการอ่านมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการเรียนรู้การอ่านและการทำวิจัยเพื่อทำความเข้าใจกระบวนการอ่าน

4)  นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และวิพากษ์งานวิจัยด้านกระบวนการอ่านได้

 

LNG 715   หัวข้อที่เกี่ยวกับภาษาศาสตร์และการศึกษาในประเทศไทย                                     3(3-0-9)

     (Linguistic and Educational Issues in Thailand)

    Pre-requisite : None

ภาษาศาสตร์สังคมของการใช้ภาษาในประเทศไทย วิภาษและความหลากหลายขึ้นอยู่กับบริบทของไทยวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณในการใช้ภาษาไทย      โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการเมือง    การใช้ภาษาอังกฤษในประเทศไทย นานาภาษาอังกฤษโลก    และภาษาอังกฤษแบบไทย การวิเคราะห์เชิงสำนวนความคล้ายคลึงของภาษาไทยและอังกฤษ ระบบการศึกษาในประเทศไทยและนโยบายการศึกษา     การวิเคราะห์ปัญหาที่สำคัญของระบบการศึกษาไทย   การเปรียบเทียบนโยบายการศึกษาและการปฏิบัติในประเทศไทย     กรณีศึกษานวัตกรรมทางการศึกษา ลักษณะของนักเรียนไทยและความเชื่อของครูภาษาไทย  การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยและปัญหาทางวัฒนธรรมในการประยุกต์ใช้วิธีการเรียนการสอน

The sociolinguistics of language use in Thailand. Dialectical and context-dependent varieties of Thai. Critical analyses of the use of Thai, especially in politics. The use of English in Thailand. World Englishes and Thai English. Contrastive rhetoric analysis of English and Thai. The educational system in Thailand and educational policies. Critical analyses of systemic issues in Thai education. Comparison of educational policies and practice in Thailand. Case studies of educational innovation. Characteristics of Thai students and beliefs of Thai teachers. English language teaching in Thailand and cultural issues in the application of teaching methodologies.

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา

1)  นักศึกษาสามารถอธิบายทฤษฎี และงานวิจัยด้านภาษาศาสตร์สังคมของการใช้ภาษาในประเทศไทยได้

2)  นักศึกษามีความรู้และเข้าใจ บริบทของการศึกษาในประเทศไทย สามารถวิเคราะห์บริบทการศึกษาไทยได้อย่างมีวิจารณญาณ

3)  นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่สำคัญของระบบการศึกษาไทยและเปรียบเทียบนโยบายการศึกษาในบริบที่ต่างกันได้

4)  นักศึกษามีความรู้และเข้าใจสถานการณ์การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยและบทบาทของวัฒนธรรมในการเรียนการสอนภาษา

5)  นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และวิพากษ์งานวิชาการหรืองานวิจัยที่เกี่ยวกับภาษาศาสตร์และการศึกษาในประเทศไทยได้

 

LNG 716   การวิจัยเกี่ยวกับการให้อิสระในการเรียนภาษา                                                      3(3-0-9)

            (Research in Autonomy in Language Learning)

    Pre-requisite : None

ทฤษฎีเกี่ยวกับการให้อิสระในการเรียนและการประยุกต์ใช้ทฤษฎีนี้ในการสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเตรียมผู้เรียน และการให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเองจากสื่อ  การให้อิสระในการเรียนกับวัฒนธรรม  การให้อิสระในการเรียนกับเป็นประเด็นทางการเมือง  การให้อิสระในการเรียนกับเป็นประเด็นการให้อิสระในการเรียนกับเป็นประเด็นสังคม   และการให้อิสระแก่ครู  การนำเอาแนวคิดเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ของผู้เรียน โดยเน้นการวิจัยเกี่ยวกับการให้อิสระในการเรียน

Concept of learner autonomy and the application of the concept in English language teaching contexts, especially through learner training and self-access learning. Autonomy and culture. Political issues in autonomy. Social autonomy. Teacher autonomy. Application of the idea of learner autonomy and its feasibility in the participants’ home situations. Research approach to autonomy.

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา

1)  นักศึกษาสามารถอธิบายทฤษฎี แนวคิดและปรัชญาการให้อิสระในการเรียนรู้ภาษาได้

2)  นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบพึ่งตนเองหรือการให้อิสระในการเรียนรู้ในการสอนภาษาอังกฤษได้

3)  นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่สำคัญของระบบการให้อิสระในการเรียนรู้ในการสอนภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่างๆ ได้

4)  นักศึกษามีความรู้และเข้าใจสถานการณ์ ปัจจัยด้านภาษา สังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการให้อิสระในการเรียน

5)  นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และวิพากษ์งานวิชาการหรืองานวิจัยที่เกี่ยวกับการให้อิสระในการเรียน

 

LNG 717   การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์                                    3(3-0-9)

            (Computer Applications in Applied Linguistics)

    Pre-requisite : None

ทฤษฎีและงานวิจัยทางด้านการใช้และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนภาษา การเปรียบเทียบการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาและโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น ๆ  หลักการเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษา  หลักการของการเรียนแบบอีเลิร์นนิ่งและการเปรียบเทียบอีเลิร์นนิ่งประเภทต่างๆ ภาษาศาสตร์คลังข้อมูล  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาอัจฉริยะ การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์  การเรียนรู้ที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การรับรู้ของผู้เรียนต่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษา  การเรียนรู้แบบออนไลน์ และสิ่งสนับสนุนการประเมินผลการเรียนภาษาโดยใช้คอมพิวเตอร์นวัตกรรม การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษา และวิธีการทำวิจัยทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษา

Theories and research into the use of technology and its applications in language learning and teaching. Comparisons of CALL (computer-assisted language learning) and non-CALL.  Learning principles behind CALL. Principles of e-learning and comparison of different kinds of E-learning. Corpus linguistics. Intelligent CALL. Computer-mediated communication. Evidence for learning through CALL.  Students’ perceptions of CALL.  On-line learning and its support.  Computer aided assessment in language learning. Implementing CALL as an innovation. Methodologies in CALL research.

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา

1)  นักศึกษามีความรู้และเข้าใจ ทฤษฎี แนวคิด และปรัชญาการใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์

2)  นักศึกษามีความรู้และเข้าใจ ทฤษฎี แนวคิด และปรัชญาการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการวิจัยทางด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์

3)  นักศึกษาสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษา และทำวิจัยทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาได้

4)  นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ปัญหาและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาได้

5)  นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และวิพากษ์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาได้

 

LNG 718   การประเมินผลทางการศึกษา                                                                                 3(3-0-9)

     (Educational Assessment)

    Pre-requisite : None

วัตถุประสงค์  แนวคิด หลักการและวิธีการประเมินผลที่ใช้ทางการศึกษา การประเมินรายวิชา บทเรียน นวัตกรรม และผู้สอน การทดสอบทางภาษา และการประเมินแบบต่อเนื่องซึ่งครอบคลุมถึงหลักการสร้างเครื่องมือสำหรับการประเมิน ความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือของเครื่องมือ การวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อวัดความเที่ยงตรงและมาตรฐานของเครื่องมือวัด

An overview of the goals, concepts, principles and practice of educational assessment. Evaluating courses, materials, innovations and teachers. Language testing and continuous assessment which include design principles, validity, reliability and statistical analyses of language assessment instruments for validation and standardisation.

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา

1)  นักศึกษาสามารถอธิบายวัตถุประสงค์ แนวคิด หลักการและวิธีการที่เกี่ยวกับการประเมินผลทางการศึกษาได้

2)  นักศึกษามีความรู้และเข้าใจการประเมินรายวิชา บทเรียน นวัตกรรม และผู้สอน

3)  นักศึกษาสามารถใช้ทฤษฎีด้านการประเมินผลทางการศึกษามาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการวัดผลการเรียนรู้

4)  นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และประเมินข้อสอบและกระบวนการวัดผลได้

 

LNG 719    สถิติสำหรับการวิจัยเชิงภาษาศาสตร์ประยุกต์                                                         3(3-0-9)

             (Statistics for Applied Linguistics Research)

            Pre-requisite : None

การใช้สถิติแบบต่างๆในงานวิจัยเชิงภาษาศาสตร์ประยุกต์รวมถึงเกณฑ์ในการเลือกใช้สถิตินั้นๆ ให้เหมาะกับประเภทของงานวิจัย  การฝึกใช้โปรแกรมสถิติเช่น เอสพีเอสเอส และโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา การสร้างรหัสในการวิเคราะห์ข้อมูล การจัดลำดับข้อมูล การแปรผลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

Common statistical procedures used in applied linguistics research and the criteria for selecting them.  Practice how to use statistical procedures through the SPSS programme and other computer-assisted content analysis procedures. Coding, organizing, analysing and interpreting the data by using computer-based tools.

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา

1)  นักศึกษามีความรู้และเข้าใจ ทฤษฎีและหลักการใช้สถิติแบบต่างๆในงานวิจัยเชิงภาษาศาสตร์ประยุกต์

2)  นักศึกษาสามารถใช้โปรแกรมสถิติเช่น SPSS และโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับงานวิจัยเชิงภาษาศาสตร์ประยุกต์ได้

3)  นักศึกษาสามารถเลือกใช้โปรแกรมสถิติได้อย่างเหมาะสม

 

LNG 720   หัวข้อพิเศษ 1                                                                                              3(3-0-9)

             (Special Topics I)

      Pre-requisite : None

รายวิชาครอบคลุมหัวข้อที่เป็นที่สนใจในปัจจุบัน ในสาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ โดยจัดสอนตามความพร้อมของบุคลากรและตามความถนัดของผู้เรียน

Current topics related to applied linguistics depending on staff availability and participants’ interests.

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา

1) นักศึกษาเรียนรู้ตามหัวข้อพิเศษที่ศึกษา

 

LNG 721   หัวข้อพิเศษ 2                                                                                              3(3-0-9)

                    (Special Topics II)

    Pre-requisite : None

รายวิชาครอบคลุมหัวข้อที่เป็นที่สนใจในปัจจุบัน ในสาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ โดยจัดสอนตามความพร้อมของบุคลากรและตามความถนัดของผู้เรียน

Current topics related to applied linguistics depending on staff availability and participants’ interests.

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา

1) นักศึกษาเรียนรู้ตามหัวข้อพิเศษที่ศึกษา

 

LNG 722    หัวข้อพิเศษ 3                                                                                              3(3-0-9)

              (Special Topics III)

      Pre-requisite : None

รายวิชาครอบคลุมหัวข้อที่เป็นที่สนใจในปัจจุบัน ในสาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ โดยจัดสอนตามความพร้อมของบุคลากรและตามความถนัดของผู้เรียน

Current topics related to applied linguistics depending on staff availability and participants’ interests.

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา

1) นักศึกษาเรียนรู้ตามหัวข้อพิเศษที่ศึกษา