ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์
ปรัชญา มุ่งผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม ที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะทางสังคมศาสตร์ และประสบการณ์ภาคสนามในการจัดการสิ่งแวดล้อม และมีกระบวนทัศน์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ
ความสำคัญ การพัฒนาประเทศในระยะที่ผ่านมา อาทิ การพัฒนาอุตสาหกรรม การทำเกษตรกรรม และการพัฒนาการท่องเที่ยว ได้ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้างทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก อาทิ การปนเปื้อนของมลพิษในสิ่งแวดล้อมชุมชนท้องถิ่น การเกิดมลภาวะในชุมชนเมือง การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก การสูญเสียพื้นที่ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศทางธรรมชาติ นำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ที่มีโครงการพัฒนา และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวม นอกจากนี้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในทุกระดับยังส่งผลต่อขีดความสามารถของการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตอีกด้วย ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น คือ การขาดการวางแผนพัฒนาโครงการอย่างรอบคอบ ขาดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงผลกระทบของการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติทางสังคม รวมถึงการขาดความตระหนักถึงความยั่งยืนในการพัฒนา การบูรณาการศาสตร์ทางด้านสังคมศาสตร์ในกระบวนการวางแผนและตัดสินใจเพื่อพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยจะช่วยให้เกิดความเข้าใจถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น สามารถคาดการณ์ผลกระทบของการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดกระบวนทัศน์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมไปถึงเข้าใจบทบาทสำคัญของกลไกทางสังคมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม สายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาทรัพยากรบุคคลภายในประเทศให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและมีความเชี่ยวชาญทางด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคมให้ยั่งยืนได้ ทางหลักสูตรได้จำแนกหน่วยการเรียนรู้ต่าง ๆ ออกเป็น 4 กลุ่มหลักเพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียน 4 ด้าน ดังนี้ 1) ศักยภาพในการคาดการณ์ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาโครงการต่าง ๆ มีวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม การประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ สังคมวิทยาความเสี่ยงและความไม่แน่นอน เป็นต้น 2) ศักยภาพในการพัฒนาโครงการความยั่งยืนหรือโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรต่าง ๆ มีวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กิจการเพื่อสังคม ธรรมาภิบาลในองค์กร เป็นต้น 3) ศักยภาพในการวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน สร้างความสมดุลระหว่างสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม มีวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น การวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนการวางแผนแม่บทชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น เป็นต้น และ 4) ศักยภาพในการทำวิจัยด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม มีวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นต้น ดังนั้น หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อมจึงเป็นหลักสูตรที่ตอบสนองต่อบริบทการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนที่ให้ความสำคัญกับมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ยังเป็นหลักสูตรที่สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agents) ที่มีทั้งความรู้และทักษะในการทำงานในองค์กรต่าง ๆ เช่น นักพัฒนาชุมชน เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม ผู้ชำนาญการด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมการประเมินคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์และคุณค่าคุณภาพชีวิต ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองในการพัฒนาประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
|
|